ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การปรับปรุงพันธุ์ไทรย้อยใบทู่ (Ficus microcarpa L.f.) และไทรย้อยใบแหลม (F. benjamina L.) โดยการใช้รังสีแกมมา
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง นางสาวสุทธาสินี ปิ่นทอง
เจ้าของผลงานร่วม -
คำสำคัญ ไทร, การปักชำ, การฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลัน, การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์, Ficus
หน่วยงาน ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
ปีที่เผยแพร่ 2559
คำอธิบาย ไทรเป็นไม้ประดับยืนต้นที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง นิยมนำมาใช้ในการตกแต่งสถานที่ที่มีบริเวณกว้างขวางเพื่อให้ร่มเงา แต่ยังมีไทรหลายชนิดที่สามารถนำมาปลูกในที่ร่มเพื่อใช้ตกแต่งภายในอาคาร ในการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมสามารถทำได้หลายวิธี รังสีแกมมาเป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก การให้รังสีส่งผลให้พืชเกิดการเปลี่ยนแปลง และมีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม เช่น ใบด่าง มีการเจริญเติบโตลดลง ขนาดใบลดลงหรือผิดรูป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของรังสีและการตอบสนองของพืชได้รับรังสี
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง