ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาถิ่น อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี : จากสำเนียงสู่ประโยคสื่อความหมาย
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง อัจฉรา สว่างแจ้ง
เจ้าของผลงานร่วม ชรินรัตน์ แก้วดวงแสน , อรรจน์ สีหะอำไพ
คำสำคัญ ภาษาถิ่น;เพชรบุรี
หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ปีที่เผยแพร่ 2559
คำอธิบาย ภาษาถิ่น อ.บ้านลาด ความโดดเด่นของคำและสำเนียงเกิดจากการกร่อนคำ แปรคำ แปรเสียงของคำ มีความหมายตรงตัวชัดเจนบ้าง ไม่ชัดเจนบ้าง แต่การแปรของภาษาจะไม่ทำให้ความหมายเปลี่ยน คำปฏิเสธ ไม่ จะอยู่หลังคำกริยาและคำกริยานั้นจะต้องผันวรรณยุกต์เป็นเสียงตรี เช่น ไป๊ไม่ หมายถึง ไม่ไป, กิ๊นไม่ หมายถึง ไม่กิน การแปรเสียงคำ เช่น โข หมายถึง มาก, หน่วยเป็นลักษณะนามของผลไม้ เช่น มะนาว 5 หน่วย, หล่อ หมายถึง ริน เท, รา หมายถึง ดึงรั้ง, รถลุน หมายถึง รถเข็น, ดุ๊ หมายถึง สิ (คำหางเสียง เช่น กินดุ๊ หมายถึง กินสิ)
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=huwwXamXR6Y
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์
Creative Commons License


ภาษาถิ่น อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี : จากสำเนียงสู่ประโยคสื่อความหมาย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.

วิดีโอ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง