- สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
- 303 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การพัฒนาตัวชี้วัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานริมชายแดนโขงสู่ความยั่งยืน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | วิตติกา ทางชั้น |
คำสำคัญ | ริมชายแดนโขง;ตัวชี้วัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานริมชายแดนโขงอย่างยั่งยืน;การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสาน;การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ | 2559 |
คำอธิบาย | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพตัวชี้วัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบและศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานริมชายแดนโขง และ 3) เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานริมชายแดนโขงสู่ความยั่งยืน ทำการศึกษาวิจัยใน 4 จังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ เลย หนองคาย มุกดาหารและอุบลราชธานี แบ่งการวิจัยเป็น 2 ระยะ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ระยะที่ 1 ประกอบด้วย 1) การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง และศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน และ 3) สร้างตัวชี้วัด ระยะที่ 2 ประกอบด้วย 4) ทดสอบความสอดคล้องของตัวชี้วัด 5) ทดสอบความเที่ยงตรง เชิงเกณฑ์สัมพันธ์ของตัวชี้วัดโดยนำไปทดลองใช้ในพื้นที่ และ 6) สร้างแบบประเมินการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมอีสานริมชายแดนโขงสู่ความยั่งยืน ผลการวิจัย พบว่า การประเมินประสิทธิภาพตัวชี้วัดคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จากคู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า ตัวชี้วัดองค์ประกอบหลักที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ การบริหารจัดการ รองลงมาคือ ศักยภาพในการดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยว และศักยภาพในการรองรับด้านการท่องเที่ยว ตามลำดับ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานริมชายแดนโขงมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ เส้นทางการเข้าถึงบางแห่งค่อนข้างลำบาก ที่พักแรมส่วนใหญ่เป็นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีหลากหลายรูปแบบและเพียงพอกับนักท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวกมีน้อย ขาดรูปแบบการบริการที่ดี มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่จัดโดยชุมชน และมีการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในบางพื้นที่ การพัฒนาตัวชี้วัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานริมชายแดนโขงเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ควรให้ความสำคัญกับชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้เกิดความยั่งยืน ได้รับการสนับสนุนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้และทำให้การท่องเที่ยวของชุมชนเกิดได้โดยชุมชน ตัวชี้วัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานริมชายแดนโขงสู่ความยั่งยืน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 27 ตัวชี้วัด ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ด้านแหล่งท่องเที่ยว ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 ด้านการเข้าถึง ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 3 ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 4 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 5 ด้านที่พักแรม ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 6 ด้านการจัดการและบริการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 10 ตัวชี้วัด |
สาขาการวิจัย |
|