- ปรมิตา พันธ์วงศ์
- 494 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพเพื่อกำจัดของเสียจากกระบวนการผลิตสุราพื้นบ้าน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริชัย คุณภาพดีเลิศ |
คำสำคัญ | ก๊าซชีวภาพ;สุราพื้นบ้าน;กากส่า;cmu-micro hybrid digester |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ปีที่เผยแพร่ | 2559 |
คำอธิบาย | โครงการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพเพื่อกำจัดของเสียจากกระบวนการผลิตสุราพื้นบ้าน" นี้สามารถพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการน้ำเสียจากการผลิตสุรา โดยมีผลตอบแทนเป็นพลังงานทดแทนสามารถนำข้อมูลงานวิจัยไปต่อยอดในการทำระบบก๊าซชีวภาพแบบอื่นๆ ได้ สามารถแก้ไขปัญหาน้ำเสียจากการผลิตสุราพื้นบ้านที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยสู่ชุมชน ไปสู่ผู้ประกอบการ หน่วยงานราชการ ซึ่งทำให้เกิดการแก้ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม และพลังงานอย่างยั่งยืน ตลอดจนสามารถเป็นต้นแบบในการจัดการของเสียจากกระบวนการผลิตสุราพื้นบ้านให้วิสาหกิจชุมชนอื่นๆ หรือกิจการที่เกี่ยวข้อง โดยทำการติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพ CMU-Micro Hybrid Digester ไว้ ณ กลุ่มวิสาหกิจสุราพื้นบ้านหมู่ที่ 5 ตำบลปูคา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นได้ทำการติดตามการทำงานของระบบ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการลดการใช้พลังงานก๊าซหุงต้มที่ใช้ในกระบวนการผลิตสุราพื้นบ้าน เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านพลังงานทดแทนให้เกิดแรงจูงใจในการติดตั้งระบบในวิสาหกิจสุราอื่นๆ หลังจากนั้นได้ทำการเขียนคู่มือสำหรับอบรมและเผยแพร่เทคโนโลยีของระบบก๊าซชีวภาพแบบ CMU-Micro Hybrid Digester และจัดอบรมให้ความรู้กับสมาชิกของวิสาหกิจอื่นๆ ประชาชนทั่วไปที่อยู่ใกล้เคียงและสนใจ รวมถึงหน่วยงานราชการต่างๆ โดยก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ทั้งหมดสามารถนำมาทดแทนก๊าซหุงต้มในส่วนของกระกวนการต้มน้ำเพื่อเติมลงไปกับข้าวที่หมักกับลูกแป้งได้ 100% ก่อนและหลังการติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพของวิสาหกิจชุมชน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งที่อยู่อาศัยบริเวณรอบๆ วิสาหกิจชุมชน ได้รับผลกระทบลดลงหลังจากการติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพ ในปัจจัยดังนี้ผลกระทบด้านกลิ่นเหม็นรบกวนชุมชน กากส่าเป็นแหล่งเชื้อโรคและแมลงวัน กากส่าก่อให้เกิดภูมิทัศน์ที่ไม่ดีแก่ชุมชน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของคนในชุมชนด้วย |
สาขาการวิจัย | - |