ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ตำแหน่งรังของราชินีมดแดงในประเทศไทย Queen Nest Position of Weaver Ant (Oecophylla smaragdina) in Thailand |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รัตนวดี ชารีวาร |
คำสำคัญ | มดแดง ราชินีมดแดง |
หน่วยงาน | ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2559 |
คำอธิบาย | การศึกษาตำแหน่งรังราชินีมดแดงในประเทศไทยดำเนินการศึกษาทุกภาคของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2557 เพื่อต้องการทราบลักษณะถิ่นอาศัยของราชินีมดแดงใหม่และราชินีมดแดงในธรรมชาติ การศึกษาลักษณะถิ่นอาศัยของราชินีมดแดงใหม่ บันทึกจำนวนตัวและความสูงของราชินีมดแดงและลักษณะการหลบซ่อนตัว การศึกษาราชินีมดแดงในธรรมชาติ บันทึกจำนวนรัง ขนาดรังในแต่ละอาณาจักร ความสูงรังราชินีมดแดง ลักษณะรังราชินีมดแดง พฤติกรรมและความหนาแน่นของมดงานในแต่ละอาณาจักร ผลการศึกษา ราชินีมดแดงใหม่พบอาศัยบนต้นไม้ความสูงไม่เกิน 2.5 เมตรจากพื้นดิน หลบซ่อนตัวในใบไม้ที่ม้วนตัวหรือซ้อนทับกัน พบทิศตะวันออกมากที่สุด (ร้อยละ 55) ราชินีมดแดงในธรรมชาติพบ 1 ตัวต่ออาณาจักร อาศัยในรังขนาดเล็กซึ่งภายในรังมี 1-3 ห้อง ทางเข้าออกของรังมีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่ารังที่ไม่มีราชินีมดแดง ต้นไม้ที่พบรังราชินีมดแดงมีความสูงที่สุด (ร้อยละ 93.75) และจำนวนรังมากที่สุด (ร้อยละ 93.75) ของอาณาจักร รังราชินีมดแดงพบมากบริเวณส่วนกลางทรงพุ่ม พบได้ทุกทิศ ทิศใต้พบมากที่สุด (ร้อยละ 24) เมื่อรังราชินีมดแดงถูกรบกวนมดงานมีพฤติกรรมตื่นตัวและดุร้าย รวมตัวกันปกคลุมรังและลำตัวราชินีมดแดงอย่างหนาแน่นและรวดเร็ว มีลักษณะเป็นก้อนกลมบริเวณรังราชินีมด |
สาขาการวิจัย |
|