ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ข้าวไทย วิจัยพ้นวิกฤต ตอนที่ 2 ความสุขยั่งยืนบนผืนดินเค็ม
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ดร.เฉลิมพล เกิดมณี
เจ้าของผลงานร่วม น้อย ช่างแก้ว
คำสำคัญ ข้าวหอมมะลิ;เพาะปลูกบนดินเค็ม
หน่วยงาน ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ(ไบโอเทค)
ปีที่เผยแพร่ 2559
คำอธิบาย เป็นที่เลื่องลือว่า ความเค็มและความแล้ง คือแรงขับสำคัญที่ทำให้ “ข้าวหอมมะลิ” แห่งทุ่งกุลาร้องไห้ ส่งกลิ่นหอมฟุ้งขจรขจายไปทั่วโลก แต่ในอีกด้านหนึ่ง ความเค็มที่มากเกินไปของชั้นเกลือที่ฝังอยู่ใต้ดิน กลับกลายเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้ชาวนาในภาคอีสานหลายชีวิต ต้องสูญอาชีพจนแทบสิ้นเนื้อประดาตัว การสำรวจของกรมพัฒนาที่ดิน พบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ “ดินเค็ม” มากกว่า 21 ล้านไร่ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศูนย์ไบโอเทได้ทดลองการแก้ปัญหาดินเค็ม ด้วยหลักการ 1.กินอิ่ม คือใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน 2.ห่มผ้า คือคลุมดินด้วยเศษฟางหญ้า 3.นอนใต้ต้นไม้คือการปลูกต้นไม้ใหญ่ เช่น สนทะเล พืชตระกูลถั่ว ทำให้เพิ่มผลผลิตข้าวได้บนพื้นดินเค็ม และชาวนาเกิดความสุขยั่งยืนบนพื้นดินเค็ม
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=ObaiRxWFBEI&t=259s http://www.vcharkarn.com/varticle/37958
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ข้าวไทย วิจัยพ้นวิกฤต ตอนที่ 2 ความสุขยั่งยืนบนผืนดินเค็ม is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.

วิดีโอ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง