ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัย และนวัตกรรมสู่กลุ่มผู้รับประโยชน์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง นายสุชัชจ์ ศรีแก้ว
คำสำคัญ ส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม;ความอุดมสมบูรณ์ของดิน;การลดอัตราการคายน้ำของต้นยางพารา;ปุ๋ยสกัดจากเปลือกหอย;ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง;ปาล์มน้ำมัน;ไส้เดือนดิน
หน่วยงาน สมาคมพลังงานทดแทนเพื่อความยั่งยืน
ปีที่เผยแพร่ 2559
คำอธิบาย โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่กลุ่มผู้รับประโยชน์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทางด้านการเกษตรในการลดต้นทุนการผลิตและการเพิ่มมูลค่าของผลิตผล ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้โครงการกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมจาก ประจำปีงบประมาณ 2559 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ผลสำเร็จจากงานวิจัยและนวัตกรรมสู่ชุมชนกลุ่มผู้รับผลประโยชน์ เพื่อสามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ในการเพิ่มรายได้ ลดต้นทุนการผลิต โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ผู้นำชุมชน และเกษตรกร ในพื้นที่ใกล้เคียงศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 5 แห่ง โดยดำเนินกิจกรรมทั้งสิ้น 12 กิจกรรม จำนวน 5 เทคโนโลยี คือ การสร้างและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน การผลิตปุ๋ยน้ำสกัดจากเปลือกหอยเพื่อใช้ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิและผักปลอดสารพิษเพื่อการบริโภค การถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้การผลิตส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามให้มีคุณภาพ เทคนิคการลดอัตราการคายน้ำและการให้น้ำ เพื่อลดต้นทุนการผลิตยางพารา และการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงจากวัสดุที่เหลือใช้ในการผลิตปาล์มน้ำมันโดยใช้ไส้เดือนดิน ซึ่งเป็นผลงานจากงานวิจัยและนวัตกรรมที่ทางสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติให้การสนับสนุน จากการดำเนินการงานโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่กลุ่มผู้รับประโยชน์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต พบว่า กลุ่มผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 1,340 คน ผลจากการประเมินองค์ความรู้ที่ได้รับจากโครงการทั้งก่อนและหลังการถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ พบว่า ผู้เข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ มีความรู้ ความเข้าใจ ค่าผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ ร้อยละ 82.49 โดยการวัดผลจากแบบทดสอบ ก่อน - หลัง ผลจากการประเมินความพึงพอใจในการดำเนินการจัดกิจกรรม พบว่า ผู้เข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมีความพึงพอใจ ร้อยละ 85.00 และผลจากการประเมินความรู้ ความเข้าใจ และการนำไปใช้ประโยชน์ โดยเก็บข้อมูลจาดแบบสอบถาม พบว่า ผู้เข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ ร้อยละ 84.16 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพในการลดต้นทุนการผลิต จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ ในครั้งนั้นตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จึงทำให้ผู้เข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ ได้รับองค์ความรู้รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยผู้เชี่ยวชาญในการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งมีการสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลในแต่ละเทคโนโลยีระหว่างวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มเป้าหมาย ทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับประโยชน์อย่างยิ่งในการเข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การให้คำปรึกษา การช่วยเหลือทางด้านเทคนิคต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่กลุ่มเป้าหมายประสบอยู่ อีกทั้งยังสามารถสร้างโจทย์วิจัยใหม่ๆ ให้แก่ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการพัฒนางานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนต่อไป
สาขาการวิจัย
  • สังคมศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง