ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง 10 วิธีสร้างอาคารต้านแผ่นดินไหว
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง รศ.ดร.อมร พิมานมาศ
คำสำคัญ ต้านแผ่นดินไหว;การออกแบบอาคาร
หน่วยงาน สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2560
คำอธิบาย จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย ส่งผลให้ทรัพย์สินของประชาชนเกิดความเสียหายอย่างมากมายโดยเฉพาะอาคารสถานที่ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้าง หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น สภาวิศวกรฯ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ศึกษาวิธีการออกแบบและส่งเสริมกำลังอาคารในประเทศเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว จึงได้เสนอ “10 แนวคิดวิธีการสร้างอาคารต้านแผ่นดินไหว” คือ 1.วัสดุก่อสร้าง คอนกรีตต้องรองรับน้ำหนัก 270 กม./ตร.ซม. 2.เสาบ้านต้องมีขนาดไม่ต่ำ 20 ซม. 3.เหล็กเส้นในเสาต้องมมีขนาด 12 มล.และต้องมี4 เส้นขึ้นไป 4. เสาทุกต้นต้องเสริมเหล็กปลอก และมีขนาดไม่เล็กกว่า 6 มม. 5.เสรมเหล็กปอกไม่น้อยกว่า 4 เส้นพันรอบเหล็กแกนในบริเวณข้อต่อ 6. ควรพันเหล็กปลอกถี่ๆตรงปลายคานเพื่อให้โครงสร้างแข็งแรงขึ้น 7.หลีกเลี่ยงการต่อเติมส่วนต่างๆของโครงสร้างเอง 8.ต้องระวังการก่อสร้างบ้านที่ชั้นล่างเปิดโล่ง นควรทำค้ำยันไม้หรือเหล็กจากมุมล่างของเสาต้นหนึ่ง 9.การก่อกำแพงอิฐต้องก่อให้ตลอดความสูงของเสา 10.ในการก่อสร้างบ้านที่แข็งแรงนั้น ควรมีวิศวกรโยธาเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=zbhFyYlzluc
สาขาการวิจัย
  • วิศวกรรมและเทคโนโลยี
Creative Commons License


10 วิธีสร้างอาคารต้านแผ่นดินไหว is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.

วิดีโอ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง