ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ความไม่เสมอภาคของสตรี สะท้อนผ่านภาพลักษณ์ของนางในวรรณคดีด้วยศิลปะสื่อผสมและวัสดุดินเยื่อกระดาษ
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง โลจนา มะโนทัย
คำสำคัญ ดิน;การประดิษฐ์ด้วยกระดาษ;ประติมากรรม;มโนราห์;กากี;สิทธิสตรี
หน่วยงาน คณะศิลปะและการออกแบบ ม.รังสิต
ปีที่เผยแพร่ 2560
คำอธิบาย ปัญหาสถานภาพสตรีเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะจึงนำเรื่องราวของนางในวรรณคดี 3 นางที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหามาสะท้อนภาพสังคมไทย ได้แก่ มัทนาจากเรื่องมัทนะพาธาสะท้อนปัญหาการถูกละเมิดสิทธิลิดรอนเสรีภาพ การถูกบังคับด้วยเงื่อนไขเชิงอำนาจ มโนราห์จากเรื่องสุธนคำฉันท์สะท้อนปัญหาการตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในเกมการเมืองของบุรุษ และกากีจากเรื่องกากีคำกลอนสะท้อนปัญหาการตกเป็นเหยื่อการประณามจากสังคม และวัฒนธรรม ความเหลื่อมลํ้าไม่เท่าเทียมทางเพศในการมีคู่ครอง และทัศนคติการกดขี่ทางเพศที่กำหนดขึ้นจากสังคมที่ปกครองแบบชายเป็นใหญ่ ในด้านเทคนิคการสร้างสรรค์ ได้เลือกนำวัสดุดินเยื่อกระดาษ และสื่อผสมมาเป็นสื่อสร้างสรรค์ขึ้นเป็นผลงานในรูปแบบประติมากรรมขนาดเล็กร่วมกับวิธีการทางจิตรกรรมด้วยการใช้สีสื่ออารมณ์ของงาน ใช้วัสดุธรรมชาติอย่างหนามของต้นโป๊ยเซียน และวัสดุสำเร็จรูปเช่นสร้อยทองเทียมมาเป็นส่วนประกอบเพื่อให้ได้ผลงานที่สมบูรณ์ ได้ผลงาน 3 ชิ้น สื่อถึงเนื้อหา เรื่องราว และอารมณ์ความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ในเรื่องของวัสดุหลักที่ใช้สร้างสรรค์งานนั้นพบว่าดินเยื่อกระดาษเป็นวัสดุสำเร็จรูป ที่สามารถขึ้นรูปงานได้อย่างรวดเร็ว สร้างรายละเอียดที่มีความอ่อนช้อยได้ดี อีกทั้งยังสามารถระบายสี หรือนำวัสดุอื่น ๆ มาประกอบเพื่อเพิ่มอารมณ์ความรู้สึกให้กับงานได้ดี
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=UEc3El7ND84
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์
Creative Commons License


ความไม่เสมอภาคของสตรี สะท้อนผ่านภาพลักษณ์ของนางในวรรณคดีด้วยศิลปะสื่อผสมและวัสดุดินเยื่อกระดาษ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.

วิดีโอ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง