ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การสื่อสารระหว่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
พนิดา จงสุขสมสกุล |
เจ้าของผลงานร่วม |
- |
คำสำคัญ |
ประวัติศาสตร์ไทย;กรุงศรีอยุธยา;สมเด็จพระนเรศวรมหาราช;การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม;ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ |
หน่วยงาน |
คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร ม.นเรศวร |
ปีที่เผยแพร่ |
2560 |
คำอธิบาย |
งานวิจัยนำทฤษฎีการสื่อสารระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พบว่า สยามมีการสื่อสารระหว่างประเทศมาเนิ่นนานมาก การสื่อสารสมัยนั้นผนวกกับการค้า มีการเดินทางเข้ามา การอพยพ คือชาวเปอร์เซียเดินทางมาตอนใต้ของสยาม เวลานั้นยังไม่เรียกว่าสยาม อาณาจักรกลันตัน เกดะห์ ไทรบุรี มีความรุ่งเรืองเพราะมีดีบุก ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเพื่อนำทรัพยากรไปใช้ อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในขณะนั้นคือ กัมพูชาและพม่า ซึ่งมีทหารอาสาโปรตุเกสนำอาวุธปืนใหญ่ ปืนกลไฟมาใช้ ทำให้กัมพูชาและพม่าชนะสงคราม สมเด็จพระนเรศวรทรงเรียนรู้สิ่งนี้ ดังนั้นเมื่อครั้งที่ทรงไปช่วยสมเด็จพ่อไปรบที่กัมพูชา จึงได้กวาดต้อนไพร่พลโปรตุเกสมา จากนั้นได้ทรงสร้างกองทัพให้เข้มแข็ง แรงบันดาลใจในชีวิตพระองค์ท่านเรียกได้ว่ามีการข้ามชาติพันธุ์มานานแล้ว ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารส่วนใหญ่จะเป็นระบบภาษาสัญลักษณ์ และจ้างล่ามมาแปล ซึ่งล่ามจะมีความฉลาดในการเข้าถึงภาษาถิ่นแต่ละคนสูงมาก และการสื่อสารกับพระมหากษัตริย์มิได้เป็นการสื่อสารแบบโดยตรง แต่เป็นการสื่อสารแบบผ่านเครื่องราชบรรณาการหรือผ่านพระราชโองการ รับสั่งตรัสถามว่ามาอย่างไร เป็นอย่างไรในลักษณะนั้น สมเด็จพระนเรศวรเป็นที่ยอมรับในเอกสารประวัติศาสตร์ทุกชิ้นทั้งจากตะวันตก พม่า และไทย ท่านเป็นผู้ที่รับรองชาวต่างชาติได้เก่งมาก ให้ความสำคัญกับชาวต่างชาติ ให้ความสำคัญกับการค้าท่านมองว่าการค้าจะทำให้อาณาจักรของเรานั้นอุดมสมบูรณ์มั่งคั่ง และตัวช่วยที่ทำให้กองทัพเข้มแข็งคือ อาวุธปืน |
ข้อมูลเพิ่มเติม |
https://www.youtube.com/watch?v=DNdWcwgifgs
|
สาขาการวิจัย |
|