ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การพัฒนากระบวนการผลิตใบหม่อนผงที่มีสารออกฤทธิ์สูงและผลของใบหม่อนต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยไทย
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์
เจ้าของผลงานร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภก. ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ , รองศาสตราจารย์ ภก. ดร.ธีระพล ศรีชนะ , พันเอก นายแพทย์อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์
คำสำคัญ ใบหม่อน;ระดับน้ำตาลในเลือด;1-deoxynojirimycin
หน่วยงาน ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีที่เผยแพร่ 2560
คำอธิบาย จากตัวอย่างผงใบหม่อนได้มาจากส่วนต่าง ๆ ของต้นหม่อน ประกอบด้วยส่วนของยอดใบหม่อน ช่วงกลางลำต้น และใบแก่ พบว่าปริมาณสารดีออกซีโนจิริไมซินมีปริมาณสูงในส่วนของยอดและช่วงกลางลำต้น โดยปริมาณที่พบในส่วนของยอดใบหม่อนอยู่ระหว่าง 0.83-2.49 มิลลิกรัมต่อกรัม ในส่วนช่วงกลางลำต้นอยู่ระหว่าง 1.00-2.53 มิลลิกรัมต่อกรัม และในส่วนใบแก่อยู่ระหว่าง 0.54-1.31 มิลลิกรัมต่อกรัมสำหรับความแตกต่างของวิธีการเตรียมผงชาใบหม่อนจากส่วนต่าง ๆ ของต้นหม่อนนั้น พบว่ายอดใบหม่อนที่เตรียมโดยการใช้น้ำเย็นร่วมกับการทำให้แห้งมีปริมาณสารสูงที่สุด ในส่วนของการศึกษาความคงตัวของสารดีออกซีโนจิริไมซินในตัวอย่างน้ำใบหม่อน ผลการศึกษาพบว่าสารดีออกซีโนจิริไมซินค่อนข้างมีความคงตัวในน้ำที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง
สาขาการวิจัย
  • วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง