ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การผลิตสารออกฤทธิ์จากกระชายเหลืองสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อผิวขาว
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง นางสุคันธรส ธาดากิตติสาร
เจ้าของผลงานร่วม นางสาวดาลัด ศิริวัน , นางสาวเกศศิณี ตระกูลทิวากร , นางสาวสุพนิดา วินิจฉัย , นางสาวอุดมลักษณ์ สุขอัตตะ , นางสาวประภัสสร รักถาวร , นายกรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์
คำสำคัญ กระชาย;ฟลาวานอยด์;ผิวขาว;ไลโบโซม;การสกัด;เอนไซม์
หน่วยงาน - สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2560
คำอธิบาย การผลิตสารสกัดจากเหง้ากระชายเหลืองด้วยวิธีที่เหมาะสมที่สุด เน้นสารสำคัญที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเมลานินและต้านการออกซิเดชั่น นำไปผลิตไลโบโซม ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อผิวขาว พบว่าการสกัดตัวอย่างอบแห้งด้วยซอกห์เลต ได้ผลผลิต 2.18%น้ำหนักแห้ง มีปริมาณสารฟลาโวนอยด์ cardamonin panduratin A และ 4-hydroxypanduratin A สูง (187.63, 123.21 และ 25.99 µg/mg ตามลำดับ) และมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อ S. aureues ได้ดีที่สุด รองลงมาได้แก่ เชื้อ P. acnes, และ S. epidermidis มีค่า MIC = 0.05, 0.20 และ 25 มม/มล ตามลำดับ ผลการสกัดด้วยเอนไซม์ได้ผลผลิตสูง(14.48%น้ำหนักแห้ง) แต่ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ต่ำกว่า cardamonin panduratin A และ 4-hydroxypanduratin A (1.62, 15.61 และ 0.55 µg/mg ตามลำดับ) แต่เป็นวิธีทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำสารสกัดด้วยวิธีที่เหมาะ สมที่สุดมาเตรียมไลโบโซมกระชายเหลืองด้วยวิธีลดขนาดอนุภาค ได้ไลโปโซมผสมสารสกัดกระชายเหลืองที่มีมาตรฐานคุณภาพ ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวมนุษย์ (Fibroblasts) กระตุ้นการสร้างคอนลาเจนที่ผิวหนังมนุษย์ได้ดีที่ความเข้มข้น 0.1 มก/มล ให้ค่าการกระตุ้นสูงกว่ากรดโคจิ (2-7%) (p ≤ 0.05) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ(DPPH) IC50 2.67 mg/ml ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสมีค่า IC50 0.66 mg/ml และไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์
สาขาการวิจัย
  • วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง