ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | แคลเซียมจากเปลือกกุ้งขาวแปซิฟิก (Litopenaeus vannamei) และการนำไปใช้ในอาหาร |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ศรัญญา เดชาภินันท์ |
คำสำคัญ | แคลเซียม;เปลือกกุ้ง;ความสามารถในการดูดซึม;ความสามารถในการละลาย |
หน่วยงาน | สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ปีที่เผยแพร่ | 2560 |
คำอธิบาย | เปลือกกุ้งเป็นของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้งที่มีศักยภาพในการนำไปใช้เป็นแหล่งของแคลเซียม จากผลการทดลองพบว่า สภาวะการสกัดที่อุณหภูมิ 70°ซ เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ด้วยกรดไฮโดรคลอริกให้ปริมาณผลผลิตสูงที่สุด (ร้อยละ 92) จึงเลือกใช้สภาวะดังกล่าวในการเตรียมแคลเซียมจากเปลือกกุ้งด้วยสารละลายกรดซิตริก, กลูโคนิก, แลคติก และมาลิก เกลือแคลเซียมกลูโคเนตและเกลือแคลเซียมแลคเตตมีความสามารถในการละลายสูงที่สุดและไม่แตกต่างกัน และจัดอยุ่ในกลุ่มเกลือที่มีความสามารถในการดูดซึมสูงซึ่งเหมาะในการนำไปเสริมในอาหาร |
สาขาการวิจัย |
|