ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ปูนซีเมนต์ธรรมชาติจากขยะเหลือบริโภค และวัสดุเหลือใช้
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรชา ไววรกิจ
คำสำคัญ ปูนซีเมนต์;ปูนซีเมนต์ธรรมชาติ;ขยะเหลือบริโภค;วัสดุเหลือใช้
หน่วยงาน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ปีที่เผยแพร่ 2560
คำอธิบาย สถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในการปลูกป่าชายเลนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสงคราม คือ ตำบลคลองโคน ซึ่งเป็นชุมชนประมงริมฝั่งชายทะเลและประกอบอาชีพเลี้ยงหอยแครง หอยแมลงภู่ และหอยนางรม รวมทั้งผลิตและจำหน่ายกะปิจากเคยตาดำ ปัจจุบันจากการประกอบอาชีพและจากการบริโภคของนักท่องเที่ยวส่งผลต่อปริมาณขยะและซากเปลือกหอยที่เกิดขึ้นภายในชุมชน การดำเนินการมีกลุ่มเป้าหมาย หมู่ 5 บ้านคลองช่อง เพื่อวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับปัญหาของชุมชนในการกำจัดซากเปลือกหอยในชุมชนและจัดการความรู้ปูนซีเมนต์ธรรมชาติ รวมทั้งมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน การรวบรวมข้อมูลถึงสาเหตุการเกิดซากเปลือกหอยเพื่อการกำจัดฯ ได้แก่ การศึกษาถึงการเลี้ยงหอยแครง หอยแมลงภู่ และหอยนางรม รวมทั้งการดูแลป่าชายเลนและการแปรรูปเคยตาดำพบว่าซากเปลือกหอยแครงจากการเพาะเลี้ยงและจำหน่ายภายในชุมชนเกิดขึ้นมากที่สุด การลดปริมาณการตายทำให้ปริมาณซากเปลือกหอยลดลง โดยการเลี้ยงหอยแครงต้องเตรียมดินหรือปล่อยที่ดินว่างช่วยให้จุลินทรีย์และแพลนตอนเติบโตอย่างน้อย 2 เดือน และในทุกวันต้องกวาดลูกหอยขึ้นจากบริเวณชายน้ำเพื่อป้องกันการกองเบียด รวมทั้งหลีกเลี่ยงวัสดุสังเคราะห์ในการประกอบอาชีพ ส่วนการขยายองค์ความรู้ปูนซีเมนต์ธรรมชาติสู่ชุมชนและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยในเรื่องปูนซีเมนต์ธรรมชาติฯ โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นเป็นการนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์จากซากเปลือกหอยแครงเหลือทิ้งแปรรูปเป็นเถ้าเปลือกหอยในเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมระหว่างรอผลผลิตเป็นการใช้เวลาว่างอย่างคุ้มค่า และมีรายได้เสริมจากผลิตภัณฑ์ในรูปผงซีเมนต์ธรรมชาติและแผ่นพื้นทางเท้ารวมทั้งวัสดุตกแต่งผนังและสินค้าพร้อมใช้สามารถจำหน่ายเป็นของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยวได้ จึงเป็นการกำจัดและจัดการซากเปลือกหอยที่เกิดขึ้นในชุมชนได้อย่างครบวงจร
สาขาการวิจัย
  • วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เอกสารเพิ่มเติม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง