ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝกเพื่อพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (กรณีชุมชนพื้นที่โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี)
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รจนา จันทราสา
เจ้าของผลงานร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภานุ พัฒนปณิธิพงศ์
คำสำคัญ หญ้าแฝก, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, การพัฒนาผลิตภัณฑ์, กาญจนบุรี
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ปีที่เผยแพร่ 2560
คำอธิบาย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อนำองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำตามแนวพระราชดำริโดยใช้หญ้าแฝก และการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝกตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมของชุมชนพื้นที่โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อประเมินผลกระบวนการการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี ด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำตามแนวพระราชดำริโดยใช้หญ้าแฝกและการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝกตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมการจัดการองค์ความรู้การพัฒนาดินด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำตามแนวพระราชดำริโดยใช้หญ้าแฝกในบริบทและภูมิสังคมของชุมชน ส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกในชุมชนต้นแบบ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประเมินผลกระบวนการการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วยแบบสอบถาม และติดตามผลการนำไปใช้ประโยชน์หลังจากดำเนินกิจกรรมเสร็จสิ้นแล้ว 6 เดือน ด้วยวิธีสำรวจพื้นที่ การสนทนากลุ่มย่อย และ สัมภาษณ์เดี่ยว วิเคราะห์ผล สรุปผลโครงการ ผลการดำเนินงาน พบว่า สมาชิกที่เข้ารับการอบรมมีความมั่นใจได้รับความรู้ แนวคิด ทักษะและประสบการณ์ใหม่ ๆ จากโครงการ มีความคิดเห็นหลังจากอบรมสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดแก่เพื่อนบ้าน/เกษตรกร/ชุมชนอื่นได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ การนำองค์ความรู้และเทคโนโลยี ด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำตามแนวพระราชดำริโดยใช้หญ้าแฝกและการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝกตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ประโยชน์ มีจำนวน 8 ราย ที่ได้นำความรู้ไปปฏิบัติจริง นำกล้าหญ้าแฝกไปปลูกในบริเวณรอบบ้านที่อยู่อาศัย และปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวยาวโดยรอบบริเวณพื้นที่สวนยางพาราที่เป็นเนินดินติดกับร่องน้ำหลากจากเนินเขา รวมเนื้อที่จำนวน 2 แปลง กว่า 15 ไร่ ผลจากการดำเนินงานและติดตามผล สมาชิกที่เข้าร่วมอบรมได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มหัตถกรรมใบหญ้าแฝกร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมใบหญ้าแฝกตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้ บนพื้นฐานของความเข้าใจบริบทชุมชน ลักษณะดินและสภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิสังคม ทรัพยากรวัตถุดิบ ศักยภาพการผลิตของชุมชนแบบค่อยเป็นค่อยไป
สาขาการวิจัย -

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง