- ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- 603 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การออกแบบกึ่งสังเคราะห์และประเมินการออกฤทธิ์หลายเป้าหมายของอนุพันธ์สติลบีน สำหรับโรคอัลไซเมอร์ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ธันย์ชนก ปักษาสุข |
คำสำคัญ | โรคอัลไซเมอร์, อนุพันธ์สติลบีน, สารยับยั้งเอนไซม์เบต้าซีครีเทส, สารยับยั้งการเกาะกลุ่มของเบต้าอะไมลอยด์, ต้านอนุมูลอิสระ, การปกป้องเซลล์ประสาท, การเพิ่มการงอกแขนงประสาท |
หน่วยงาน | ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล |
ปีที่เผยแพร่ | 2560 |
คำอธิบาย | การค้นพบสารออกฤทธิ์หลายเป้าหมายเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ใช้ในการค้นหายาใหม่รักษาโรคอัลไซเมอร์เพื่อต่อต้านความซับซ้อนของอาการทางพยาธิวิทยาของโรคนี้ งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการออกแบบกึ่งสังเคราะห์อนุพันธ์ของอัลคิลสติลบีนเพื่อเป็นสารออกฤทธิ์แบบหลายเป้าหมายใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคอัลไซเมอร์โดยพบว่าอนุพันธ์ของเรสเวอราทรอลที่มีหมู่พรีนิลเป็นสารที่มีประสิทธิภาพที่ดีในการออกฤทธิ์หลายเป้าหมายโดยมีฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเบต้าอะไมลอยด์ (IC50 4.8 ± 0.8 ไมโครโมลาร์) ต้านอนุมูลอิสระ (IC50 41.2 ± 0.6 ไมโครโมลาร์) ยับยั้งเอนไซม์เบต้าซีครีเทสร้อยละ 23.7 ± 0.4 และนอกจากนี้แสดงผลไม่เป็นพิษต่อเซลล์ประสาทพีสิบเก้าและออกฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทจากสภาวะเครียด โดยเซลล์ประสาทมีอัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1586.7 ที่ความเข้มข้น 1 นาโนโมลาร์ และมีผลในการเพิ่มจำนวนแขนงประสาทร้อยละ 340.1 และความยาวแขนงประสาทร้อยละ 81.6 อีกด้วยดังนั้นอนุพันธ์ของเรสเวอราทรอลที่มีหมู่พรีนิลจึงเป็นสารออกฤทธิ์แบบหลายเป้าหมายที่ดีน่าสนใจนำไปเป็นสารต้นแบบในการพัฒนาเป็นยารักษาโรคอัลไซเมอร์ต่อไป |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://link.springer.com/article/10.1007%2Fs11418-017-1097-2 |
สาขาการวิจัย |
|
การออกแบบกึ่งสังเคราะห์และประเมินการออกฤทธิ์หลายเป้าหมายของอนุพันธ์สติลบีน สำหรับโรคอัลไซเมอร์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.