ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาพศิลปะจากถ่านเปลือกทุเรียนที่ลดแก๊สอันตรายในบ้าน
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง โชติวัฒน์ จันทรเกษม
เจ้าของผลงานร่วม ดนุรัศ สาระธนะ , ภัทรานิษฐ์ กุลทรัพย์ปรีด์ , ภาคิญา เขมาชีวะกุล , สรวุฒิ ช่วงโชติ
คำสำคัญ ถ่านเปลือกทุเรียน;ภาพศิลปะ;ฟอร์มัลดีไฮด์
หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ปีที่เผยแพร่ 2560
คำอธิบาย เปลือกทุเรียนนำมาทำเป็นถ่านเคลือบไทเทเนียมไดออกไซด์กำจัดฟอร์มัลดีไฮด์ นำเปลือกทุเรียนมาใช้ประโยชน์ สามารถดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์ได้ แต่เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งมันจะเต็มไม่สามารถดูดซับได้อีก จึงต้องใช้ไทเทเนียมไดออกไซด์เคลือบบนผิวถ่าน เมื่อโดนแสงตัวออกซิไดซ์ สารที่ดูดซับไว้ภายในทำให้เกิดช่องว่างสามารถดูดซับแก๊สได้ต่อเนื่อง อุปกรณ์ต่างๆ เฟอร์นิเจอร์ที่ซื้อใหม่เข้าบ้านจะปล่อยฟอร์มัลดีไฮด์ หากเข้าร่างกายมากๆ จะเกิดอันตรายได้ ดังนั้นหากสามารถมีภาพศิลปะโดยใช้เปลือกทุเรียนที่สามารถดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์ได้ และติดตั้งภาพให้ได้รับแสงจากภายนอก แสงอาทิตย์จะทำปฏิกิริยากับไทเทเนียมไดออกไซด์ที่เคลือบไว้จะเกิดการสลายของฟอร์มัลดีไฮด์ได้ ทำให้ชิ้นงานสามารถดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์ได้เรื่อยๆ จึงช่วยลดมลพิษที่อยู่ภายในห้องได้ ภาพที่สร้างขึ้นจะพบว่ามีเทกเจอร์ของเปลือกทุเรียนอยู่ เป็นภาพศิลปะ มีความสวยงาม ประโยชน์ใช้สอย การต่อยอดงานวิจัยคือ ทำอย่างไรให้มีรูปภาพลักษณะอื่นๆ เช่น ภาพตั้งโต๊ะ ลักษณะรูปทรงสามมิติ หากนำสินค้าโอทอปแต่ละท้องถิ่นมาผลิตให้เป็นถ่าน เคลือบสารดังเช่นที่เราผลิตขึ้นเพื่อฟอกอากาศได้ จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าโอทอปแต่ละท้องถิ่นได้ คณาจารย์จึงนำผลงานนี้ไปประกวดที่ World Innovation Contest ที่ประเทศเกาหลี และได้รับรางวัล
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=LnE4ccf7fb4
สาขาการวิจัย
  • วิศวกรรมและเทคโนโลยี
Creative Commons License


ภาพศิลปะจากถ่านเปลือกทุเรียนที่ลดแก๊สอันตรายในบ้าน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง