ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การพัฒนาเทคนิคการเก็บรักษาไข่ไหมสายพันธุ์ไทยที่อุณหภูมิต่ำ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ผศ.ดร. อมรรัตน์ พรหมบุญ |
เจ้าของผลงานร่วม | ผศ.ดร.อุไรวรรณ นิลเพ็ชร , นายแผด สตารัตน์ , ผศ.ดร.ราตรี วงศ์ปัญญา , ดร.วรรณรัตน์ พรศิริวงศ์ , นางสาวศิริพร บุญชู , นางพรพิณี บุญบันดาล , ว่าที่ร้อยโทเรืองศักดิ์ บุญโนนแต้ , นางสาวนพพร กองพันธ์ |
คำสำคัญ | ไข่ไหมพักตัว;สายพันธุ์ไทย;อุณหภูมิต่ำ;ช่วงแสง |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2560 |
คำอธิบาย | ไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านเป็นไหมที่ไม่มีการพักตัว (nondiapause silkworm) สามารถเก็บไข่ไหมที่5 C ได้ 1 เดือน ต้องเลี้ยงไหมเพื่อรักษาสายพันธุ์ 6-8 รุ่นต่อปี จากการเก็บรักษาไข่ไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน 2 สายพันธุ์ โดยเลี้ยงไหมที่ 18 C เปรียบเทียบกับที่ 25 C ปรับช่วงแสงเป็น 3 ช่วงแสงที่แตกต่างกัน เมื่อเลี้ยงไหมจำนวน 4 รุ่น พบว่าไหมเปลี่ยนจากไหมที่ไม่มีการพักตัว ไปเป็นไหมที่มีการฟักตัวได้ สภาวะที่เหมาะสมในการชักนำไหมคือการเลี้ยงที่ 18 C ช่วงแสงสว่าง 15 และมืด 9 ชั่วโมง ยีน DH เกี่ยวข้องกับการพักตัวของไข่ไหม สามารถใช้เป็นเครื่องหมายโมเลกุลในการติดตามไหมที่มีการพักตัวต่อไป |
สาขาการวิจัย |
|