ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การศึกษาถึงปัจจัยที่เหมาะสมต่อการแสดงออกของโปรตีนอีของไวรัสเด็งกี่ในเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพื่อใช้พัฒนาการผลิตอนุภาคที่คล้ายไวรัส |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สาธิพร สุขสถาน |
เจ้าของผลงานร่วม | Prof. Duncan R. Smith |
คำสำคัญ | prM-E/ VLP/ YPTI MOTIF |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยมหิดล |
ปีที่เผยแพร่ | 2558 |
คำอธิบาย | ไวรัสเด็งกี่เป็นไวรัสที่มีสารพันธุกรรมชนิดอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว ซึ่งโปรตีนเปลือกหุ้มของไวรัสประกอบด้วยโปรตีน 3 ชนิด ได้แก่ Capsid (C), Envelope (E) และ Membrane (M) โดยโปรตีน E นั้นเป็นโปรตีนที่แสดงคุณสมบัติจำเพาะทางแอนติเจนของไวรัส ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนทางการค้าที่ใช้ป้องกันไวรัสเด็งกี่อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามอนุภาคที่คล้ายไวรัสเด็งกี่ (virus like particles) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญในการผลิตวัคซีน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีที่ช่วยเพิ่มผลผลิตอนุภาคที่คล้ายไวรัสเด็งกี่ในเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อนุภาคที่คล้ายไวรัส 5 ชนิดซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือยีน prM-E ของไวรัสเด็งกี่ซีโรไทป์สอง (D2-prM-E) ถูกสร้างขึ้นในงานวิจัยนี้ ได้แก่ pC2-D2-prM-E, pC2-D2YPTI-prM-E ประกอบด้วยลำดับกรดอะมิโน YPTI ที่ได้จาก Yellow fever virus มีหน้าที่ช่วยในการขนส่งอนุภาคไวรัสจาก ER สู่ Golgi apparatus, pC2-D2-C-prM-E และ pC2-D2YPTI-C-prM-E ซึ่งประกอบด้วยเพปไทด์ส่งสัญญาณ (signal peptide) ของไวรัสเด็งกี่ ในการเปรียบเทียบผลผลิตของอนุภาค 4 ชนิดแรก อนุภาคแต่ละชนิดถูกนำเข้าสู่เซลล์และตรวจสอบการผลิตโปรตีน E ภายในเซลล์ด้วยวิธี Western blot (WB) พบว่ามีเพียง pC2-D2-C-prM-E และ pC2-D2YPTI-C-prM-E ที่สามารถผลิตโปรตีน E ในเซลล์ ดังนั้นเพพไทด์ส่งสัญญาณของไวรัสเด็งกี่มีผลให้เพิ่มการผลิต E โปรตีนในเซลล์ได้ |
สาขาการวิจัย |
|
การศึกษาถึงปัจจัยที่เหมาะสมต่อการแสดงออกของโปรตีนอีของไวรัสเด็งกี่ในเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพื่อใช้พัฒนาการผลิตอนุภาคที่คล้ายไวรัส is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.