ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงชีวภาพแบบเอนไซม์ด้วยการตรึงกราฟีนร่วมกับแม่เหล็กนาโนและเอนไซม์กลูโคสออกซิเดส นาโนคอมโพสิท
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง สายทิพย์ ภคพงศ์พันธุ์
เจ้าของผลงานร่วม ผศ.ดร.รุ่งทิวา ภู่อาภรณ์
คำสำคัญ กราฟีน/กลูโคสไบโอเซนเซอร์/การส่งผ่านอิเล็กตรอนโดยตรง/เซลล์เชื้อเพลิงชีวภาพแบบ เอนไซม์/ไม่มีสารตัวกลาง/อนุภาคแม่เหล็กนาโน
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ปีที่เผยแพร่ 2560
คำอธิบาย เชื้อเพลิงชีวภาพแบบเอนไซม์เป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้าเคมีที่เปลี่ยนปฏิกิริยาเคมีจากเชื้อเพลิงไปเป็นพลังงานไฟฟ้าที่สามารถถูกพัฒนาไปเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาได้ เช่น อุปกรณ์การแพทย์ได้ในอนาคต งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการตรึงเอนไซม์แบบใหม่และง่ายดายสำหรับใช้ในไบโอเซนเซอร์และเซลล์เชื้อเพลิงชีวภาพแบบเอนไซม์ที่ใช้กลูโคสเป็นสารเชื้อเพลิงโดยปราศจากเมมเบรนและปราศจากสารตัวกลางถูกสร้างขึ้นเพื่อการใช้งานในสภาวะที่เหมือนในร่างกายคือที่พีเอช 7.0 และอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เซลล์ขั้วอิเล็กโทรดชีวภาพที่ถูกพัฒนาขึ้นนี้ประกอบไปด้วยการปรับปรุงผิวหน้าขั้วอิเล็กโทรดแม่เหล็กด้วยแผ่นกราฟีน อนุภาคแม่เหล็กนาโน ร่วมกับเอนไซม์กลูโคสออกซิเดสที่ขั้วไฟฟ้าด้านแอโนดและบิลิรูบินออกซิเดสที่ขั้วไฟฟ้าด้านแคโทด ซึ่งสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ในระดับไมโครวัตต์ อีกทั้งยังเป็นพลังงานสะอาด ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ทดแทนพลังงานจากแบตเตอรี่ต่อไปในอนาคต
สาขาการวิจัย
  • วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง