ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศของอาจารย์นิเทศก์โดยใช้แนวคิดการศึกษาภควันตภาพสำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในบริบทพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง แวฮาซัน แวหะมะ
คำสำคัญ การศึกษาภควันตภาพ การศึกษาภควันตภาพ การศึกษาภควันตภาพ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ปีที่เผยแพร่ 2560
คำอธิบาย การวิจัยเชิงผสมผสานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นต่อการนิเทศของอาจารย์นิเทศก์ สำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในบริบทพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งประกอบด้วย ปัญหาการขาดการนิเทศของอาจารย์ วิเคราะห์สาหตุการขาดการนิเทศ จัดลำดับความต้องการจำเป็นและแนวทางการนิเทศของอาจารย์นิเทศก์ 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศของอาจารย์นิเทศก์โดยใช้แนวคิดการศึกษาภควันตภาพ สำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในบริบทพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ และ 3) ศึกษาประสิทธิภาพรูปแบบการนิเทศของอาจารย์นิเทศก์โดยใช้แนวคิดการศึกษาภควันตภาพ สำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในบริบทพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา อาจารย์พี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศ นักศึกษาปฏิบัติการสอน เจ้าหน้าที่งานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และ ตัวอย่างโรงเรียนนำร่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นแบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และ เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเครือข่ายใจความสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นต่อการนิเทศของอาจารย์นิเทศก์ สำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในบริบทพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ประกอบด้วย 4 ประการ ได้แก่ ปัญหาการขาดการนิเทศของอาจารย์ เกิดจากปัญหาภาระงาน และ ปัญหาจากบริบทพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ สาหตุการขาดการนิเทศของอาจารย์นิเทศก์ ประกอบด้วย อัตรากำลังของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยไม่เพียงพอ และ ความรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลำดับความต้องการจำเป็นของอาจารย์นิเทศก์ประกอบด้วย บทบาทในการนิเทศการสอน บทบาทการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา บทบาทผู้ประสานงานและสร้างความร่วมมือ และ บทบาทในการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ตามลำดับ และ แนวทางการนิเทศของอาจารย์นิเทศก์ พบว่าควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุน 2) รูปแบบการนิเทศของอาจารย์นิเทศก์โดยใช้แนวคิดการศึกษาภควันตภาพ สำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในบริบทพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ประกอบด้วย บทบาทในการนิเทศการสอน บทบาทการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา บทบาทผู้ประสานงานและสร้างความร่วมมือ และ บทบาทในการประเมินผล ภายใต้การศึกษาภควันตภาพ อันได้แก่ ความยั่งยืน การเข้าถึง ความฉับไวการปฏิสัมพันธ์ การวางกิจกรรมการสอน และการตระหนักถึงบริบท 3) รูปแบบสามารถนำมาแก้ปัญหาการขาดการนิเทศของอาจารย์นิเทศก์ได้ในทางปฏิบัติ
สาขาการวิจัย
  • สังคมศาสตร์
Creative Commons License


การพัฒนารูปแบบการนิเทศของอาจารย์นิเทศก์โดยใช้แนวคิดการศึกษาภควันตภาพสำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในบริบทพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง