- ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์
- 305 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ฟื้นคน ฟื้นภาษา ด้วยงานวิจัยท้องถิ่น |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย |
คำสำคัญ | ฟื้นคน;ฟื้นภาษา;งานวิจัยท้องถิ่น |
หน่วยงาน | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2560 |
คำอธิบาย | จากสถิติของนักภาษาศาสตร์ที่บ่งชี้ว่า ภายในศตวรรษนี้ ร้อยละ 90 ของภาษาในโลกกว่า 6,000 ภาษาจะต้องตายไป ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษา และวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท จึงได้นำงานวิจัยท้องถิ่นเข้าไปฟื้นฟูภาษาและพัฒนาชุมชน จากเดิมชุมชนเป็นแค่ผู้ให้ข้อมูลเท่านั้น นักภาษาศาสตร์จะนำข้อมูลจากชุมชนมาวิเคราะห์และนำสรุปเป็นองค์ความรู้สำหรับการศึกษา จากขอข้อมูลนี้นักภาษาศาสตร์ได้ทราบปัญหาของชาวบ้าน และเมื่อนำงานวิจัยท้องถิ่นมาใช้เป็นเครื่องมือ ทำให้ชุนชนได้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เป็นการเติมเต็มความต้องการของชุมชน เพราะชุมชนก็ต้องการศึกษาภาษาของตนและต้องการอนุรักษ์ภาษาของตนเช่นกัน โครงการฟื้นคนฟื้นภาษาด้วยงานวิจัยท้องถิ่น คือ โครงการฟื้นฟูภาษาชอง โครงการอนุรักษ์ภาษา พัฒนาศักยภาพของชาวมลาบรี รวมถึงได้พัฒนาระบบตัวเขียนภาษามลาบรีขึ้นมาด้วย หรือโครงการอนุรักษ์ภาษาละเวือะ เป็นต้น จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนภาษาชาติพันธุ์ทำให้เกิดการขยายผลอย่างกว้างขวาง เกิดการส่งผ่านไปยังลูกหลาน มีการนำชาติพันธุ์เข้าเป็นการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานในระบบโรงเรียนรัฐ สิ่งนี้ยังช่วยคลี่คลายปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อีกด้วย ในโครงการทวิภาษาที่สอดแทรกความเป็นท้องถิ่นวิถีความเป็นมุสลิมเข้าไปในแผนการเป็นการสอนในชั้นเรียน การฟื้นฟูภาษาท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ได้สร้างความมั่นใจให้แก่ชุมชนและยังเป็นพื้นฐานการพัฒนาที่ตั้งต้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนเอง |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.youtube.com/watch?v=P2Gboe5CYEA |
สาขาการวิจัย |
|
ฟื้นคน ฟื้นภาษา ด้วยงานวิจัยท้องถิ่น is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.