ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
Systematics and Ethnomedicine of Lasianthus (Rubiaceae) in Thai Natural Forests |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
นายทิวธวัฒ นาพิรุณ |
เจ้าของผลงานร่วม |
รศ.ดร.สรัญญา วัชโรทัย ,
ดร.ก่องกานดา ชยามฤต ,
รศ.ดร.ดวงใจ ศุขเฉลิม ,
Prof.Henrik Balslev ,
ผศ.ดร.สุีธีร์ ดวงใจ ,
รศ.ดร.ภก.วิชัย สันติมาลีวรกุล |
คำสำคัญ |
Systematics;Ethnomedicine;Lasianthus;Infectious diseases;Phytochemistry |
หน่วยงาน |
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ |
2561 |
คำอธิบาย |
พืชสุกลกำลังเจ็ดช้างสาร (Lasianthus) สมาชิกของวงศ์กาแฟ หรือวงศ์เข็ม (Rubiaceae) มีถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนของภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะป่าเขตร้อนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบราว 160 ชนิด หลายชนิดมีรายงานการใช้ประโยชน์เป็นพืชสมุนไพรในการรักษาแผลสด แผลติดเชื้อ การช่วยลดไข้ บำรุงกำลัง แต่ยังไม่มีรายงานหรือการทดลองศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพมาก่อน ประกอบกับการจำแนกและการระบุชนิดยังมีความไม่ชัดเจนด้วยลักษณะของพรรณพืชที่มีลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่คล้ายคลึงกัน และจำนวนสมาชิกของสกุลที่มีจำนวนมาก ผู้วิจัยและคณะจึงได้ใช้หลักกการทางอนุกรมวิธาน ทั้งลักษณะทางสัณฐาณวิทยา ชีววิทยาโมเลกุล และพฤกษเคมี ในการช่วยสนับสนุนการจำแนกพืช รวมไปถึงการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดพืชในชนิดที่ใช้เป็นพืชสมุนไพรเกี่ยวกับการรักษาแผลติดเชื้อ และการลดไข้ มาทดสอบกับเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่เป็นปัญหาให้เกิดการติดเชื้อและอาการดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่าลักษณะทางสัณฐานวิทยา และข้อมูลชีวโมเลกุล สามารถช่วยสนับสนุนการจำแนกและการระบุชนิดพืชได้ และข้อมูลทางพฤกษเคมียังช่วยสนับสนุนข้อมูลกลุ่มสารสำคัญที่มีการกระจายในพรรณพืชสกุลนี้ รวมทั้งกลุ่มสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อโดยอาศัยรายงานชนิดพืชในสกุลดังกล่าวจากการใช้ประโยชน์พื้นบ้านในเขตร้อนของภูมิภาคเอเชีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศไทย |
ข้อมูลเพิ่มเติม |
http://www.tm.mahidol.ac.th/seameo/2017-48-1/14-7043-8-117.pdf
|
สาขาการวิจัย |
|