ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มมูลค่าและการใช้ประโยชน์ เส้นใยสับปะรดเพื่อผลิตภัณฑ์กระดาษหัตถกรรมที่เป็นมิตรแก่สิ่งแวดล้อมในเชิงพาณิชย์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง นายวุฒินันท์ คงทัด
เจ้าของผลงานร่วม นางรังสิมา ชลคุป , นางสาวสุธีรา วิทยากาญจน์ , ดร.นัฏพร ขนุนก้อน , นายวราวุฒิ ศุภมิตรมงคล , นายชัยพร สามพุ่มพวง , นางสาวลัดดาวัลย์ โกวิทย์เจริญ , นางสาวจิรชยา บุญญฤทธิ์
คำสำคัญ กระดาษหัตถกรรม;กระดาษเส้นใยใบสับปะรด;กระดาษพิเศษ;กระดาษซิลค์สกรีน
หน่วยงาน ฝ่ายเทคโนโลยีชีวมวลและพลังงานชีวภาพ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย ปัจจุบันมีการตื่นตัวในการเตรียมตัวเข้าสู่การเป็นประเทศ AEC ของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม สำหรับการผลิตกระดาษหัตถกรรมของประเทศไทยมีการผลิตมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบันนี้ เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านการผลิตส่วนใหญ่จะใช้เปลือกปอสาเป็นวัตถุดิบ การผลิตในอดีตไม่ค่อยจะมีปัญหาเกี่ยวกับวัตถุดิบที่นำมาใช้ เนื่องจากเปลือกปอสามีเป็นจำนวนมาก หาได้ง่ายตามป่าธรรมชาติเนื่องจากเป็นพืชที่ขึ้นได้เองและเจริญเติบโตได้เร็วโดยไม่ต้องดูแลรักษา การนำเปลือกปอสามาใช้ผลิตกระดาษที่เรียกว่า กระดาษสา นั้นจึงไม่มีปัญหาเรื่องวัตถุดิบที่ใช้ผลิต เปลือกปอสามีเส้นใยที่ขาว อ่อนนุ่ม เหนียว ทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมาก แมลงไม่ชอบดังนั้นจึงเป็นที่นิยมของการนำมาผลิตกระดาษหัตถกรรม แต่ปัจจุบันเปลือกปอสามีจำนวนน้อยหายากเนื่องจากป่าธรรมชาติถูกทำลาย สภาพอากาศแปรปรวนเกิดความแห้งแล้งทำให้ต้นปอสาไม่เจริญเติบโตและตายไป จึงเกิดสภาวะของการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ผลิตกระดาษหัตถกรรมขึ้น ทางสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร่วมมือกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA) ได้จัดทำโครงการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกปอสาเป็นการค้า แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากปอสาให้ผลผลิตน้อยกว่าพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น ให้ผลตอบแทนที่ต่ำเมื่อปลูกเพื่อเป็นการค้า ทำให้การใช้ผลิตกระดาษภายในประเทศจึงไม่พอกับความต้องการ การแก้ปัญหาการขาดแคลนเปลือกปอสาทำได้โดยไปซื้อเปลือกปอสาจากประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีอยู่มากแทนแต่ก็ประสบปัญหาเนื่องจากราคาที่แพงมาก มีไม่พอกับความติองการ มีคู่แข่งแย่งซื้อ เพราะเปลือกปอสาเป็นที่ต้องการของประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีนมากเนื่องจากเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมในการใช้กระดาษสาอยู่แล้ว ปัญหาดังกล่าวจึงส่งผลให้การผลิตกระดาษหัตถกรรมของบ้านเราไม่เติบโตเท่าที่จะเป็นเพราะขาดแคลนวัตถุดิบที่จะใช้ผลิตนั่นเอง ซึ่งสวนทางกับความต้องการใช้กระดาษหัตถกรรมที่เพิ่มมากขึ้น ในแต่ละปีมีมูลค่าของการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกระดาษหัตถกรรมได้มากกว่า 500 ล้านบาท และยังมีโอกาสโตได้มากกว่านี้อีกมากถ้าหากมีวัตถุดิบที่จะใช้ผลิตกระดาษได้มากพอกับความต้องการใช้งาน ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวัตถุดิบชนิดอื่นมาทดแทนเปลือกปอสา จากการศึกษาทดลองของนักวิจัยที่ผ่านมา พบว่าเส้นใยจากใบสับปะรดมีคุณภาพใกล้เคียงกับเส้นใยปอสาจึงได้ส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรที่ผลิตกระดาษหัตถกรรมได้ใช้ แต่กลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้ทั้งใบเป็นวัตถุดิบเนื่องจากใช้ง่ายไม่ต้องเตรียมเส้นใยส่งผลทำให้กระดาษที่ได้มีคุณภาพไม่ค่อยดี กระดาษไม่มีความเหนียว ไม่แข็งแรง เปื่อย ขาดง่ายอายุการใช้งานสั้น และใช้ทำผลิตภัณฑ์ได้ไม่หลากหลาย การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจำเป็นจะต้องฝึกอบรมให้กับกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตกระดาษจากใบสับปะรดให้รู้เกี่ยวกับการคัดเลือกและการเตรียมเส้นใยจากใบสับปะรดที่จะใช้ผลิตกระดาษรวมถึง การต้ม การฟอกเยื่อ การย้อมสี การทำแผ่น การเพิ่มคุณสมบัติพิเศษให้กับกระดาษ เช่น ความเหนียว การต้านการซึมน้ำและการเพิ่มความสวยงามให้กับกระดาษโดยการทำซิลค์สกรีน และพับย้อม เป็นต้น จะทำให้กระดาษมีมูลค่ามากยิ่งขึ้นและสามารถนำไปทำผลิตภัณฑ์ต่างๆได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบั
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มมูลค่าและการใช้ประโยชน์ เส้นใยสับปะรดเพื่อผลิตภัณฑ์กระดาษหัตถกรรมที่เป็นมิตรแก่สิ่งแวดล้อมในเชิงพาณิชย์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง