ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | เตาประสิทธิภาพสูง กรมป่าไม้ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | นฤมล ภานุนำภา |
คำสำคัญ | เตาประสิทธิภาพสูง;กรมป่าไม้ |
หน่วยงาน | สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | เตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง ข้อแตกต่างคือ การควบคุมอากาศเข้า-ออก และดินที่นำมาทำเตา โครงสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างขอบเตาหรือช่องอากาศออกประมาณ 1 ซม.กับช่องเคี่ยขี้เถ้าหรือช่องอากาศเข้า เมื่อวางภาชนะ อากาศเข้าจะสัมพันธ์กับอากาศออกพอดี วางภาชนะได้ตั้งแต่เบอร์ 16-32 โดยที่ไม่ลอยขึ้นมาเหนือเส้า ส่วนรังผึ้ง เตาทั่วไปจะหนา 1 ซม. เตาที่ออกแบบจะหนา 4 ซม. มีรู 61 รู รังผึ้งที่หนาและจำนวนรูมากเปรียบเสมือนปล่องดูดอากาศ เมื่ออากาศเข้าด้านล่างถูกปล่องดูดขึ้นมา จำนวน 61 รู ทำให้การเผาไหม้ดี ถ่านจะให้ไฟแรง ดินจะใช้ดินเชื้อ จากการเผาดินเหนียวนำมาทุบเป็นผง ผสมดินเหนียว ช่วยระบายอากาศภายใน ความร้อนจะระอุ ชนวนคือส่วนที่อยู่ระหว่างเตากับถังเตา เตาทั่วไปจะใช้ขี้เถ้าแกลบดำซึ่งมีความเค็มทำให้เตาผุง่าย เตาที่ออกแบบจะผสมกับดินเหนียว ด้านในจะระบายอากาศ เป็นฉนวนกันความร้อน การทดสอบด้วยการต้มน้ำ เตาที่ออกแบบจะมีประสิทธิภาพ 32 เปอร์เซ็นต์ เตาทั่วไป 24-25 เปอร์เซ็นต์ จะลดปริมาณการใช้ถ่านได้ 65 ล้านกิโลกรัมต่อลิตร เป็นการใช้ไม้อย่างมีประสิทธิภาพ การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ผลิตและราษฎรในการเลือกเตาลักษณะใกล้เคียงเตาที่ออกแบบ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.youtube.com/watch?v=z3hRUyoa30g |
สาขาการวิจัย |
|
เตาประสิทธิภาพสูง กรมป่าไม้ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.