ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การพัฒนาแนวทางในการใช้ประโยชน์จากมโหรา [Typhonium trilobatum (L.) Schott] ในเชิงพาณิชย์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง รศ. ดร.สุรวิช วรรณไกรโรจน์
เจ้าของผลงานร่วม ผศ.ดร.ดวงใจ ศุขเฉลิม , นายทิวธวัฒ นาพิรุณ , อาจารย์สุธิดา มณีอเนกคุณ , นายมานพ ผู้พัฒน์ , นายธีรวุฒิ แสงนิล , ภก.ผศ.ดร. วิชัย สันติมาลีวรกุล
คำสำคัญ อุตพิด;การกระจายพันธุ์;การขยายพันธุ์;การปลูก;ไอโซไวแทกซิน;ยับยั้งเชื้อ;สารพฤกษเคมี
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย มโหรากระจายในทุกภูมิภาคของประเทศในหลากหลายระบบนิเวศ สามารถขยายพันธุ์อย่างง่ายด้วยการผ่าแบ่งหัวเป็น 9 ชิ้น/หัว เพื่อให้ได้จำนวนต้นมากที่สุด การปลูกหัวเพื่อผลิตสารสำคัญทางพฤกษเคมี ควรปลูกทั้งหัว (ไม่ผ่าหัว) ภายใต้สภาพการพรางแสงเพียง 50% สารสกัดจากส่วนเหนือวัสดุปลูกและส่วนใต้วัสดุปลูกของมโหราจากนครศรีธรรมราช มีค่า MIC ต่อ S. aureus subsp. aureus Rosenbach (ATCC® 43300™) 2 และ 16 g/ml ตามลำดับ จึงมีศักยภาพสูงในการนำไปทำเจลรักษาอาการติดเชื้อที่ผิวหนังบางชนิด โดยต้นพันธุ์ที่ได้จากนครศรีธรรมราช มีสารสำคัญที่มีฤทธิ์ต่อแบคทีเรียดีที่สุด
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง