ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง เภสัชพันธุศาสตร์ของยาอีฟาวิเรนซ์ที่เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดผิดปกติในผู้ป่วยชาวไทยที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับวัณโรค
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง นายธัชพล บุญถูก
เจ้าของผลงานร่วม รศ.ดร.ภก.ชลภัทร สุขเกษม, รศ.ดร.พรเพ็ญ ศรีสวัสดิ์, นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ, ดร.อภิชญา พวงเพ็ชร์, รศ.พูนพิลาส หงษ์มณี
คำสำคัญ HIV, Antiretroviral therapy, Efavirenz, Dyslipidemia, SNP
หน่วยงาน ห้องปฏิบัติการเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์เฉพาะบุคคล ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย ในผู้ป่วยชาวไทยที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับวัณโรคที่ได้รับยาอีฟาวิเรนซ์พบว่ามีอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic polymorphisms) ของผู้ป่วยเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความหลากหลายทางพันธุกรรมและการเกิดภาวะไขมันในเลือดผิดปกติในผู้ป่วยชาวไทยที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับวัณโรค จากการศึกษาพบว่าการเกิดความหลากหลายของยีนที่เกี่ยวข้องกับเมตาบอลิซึมของยาและยีนที่เกี่ยวข้องกับเมตาบอลิซึมของไขมัน (CYP2B6 516 G>T, APOA5 553 G>T, LIPC -557 C>T และ APOA5 -1131 T>C) มีความสัมพันธ์กับการเกิดเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในเลือดของผู้ป่วยชาวไทยที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับวัณโรค นอกจากนี้ยังพบว่าอายุที่เพิ่มมากขึ้นและการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของคอเลสเตอรอลรวมและการลดลงของ LDL คอเลสเตอรอลตามลำดับ จากการศึกษานี้สรุปได้ว่า CYP2B6 516 G>T และ APOA5 -1131 T>C อาจสามารถเป็นเครื่องหมายทางพันธุกรรมในการคาดคะเนการเกิดภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (คอเลสเตอรอลรวม, LDL คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์สูง) ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับวัณโรคได้
สาขาการวิจัย
  • วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ