ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | งานวิจัยไทบ้าน อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สมภาร คืนดี |
คำสำคัญ | ไทบ้าน;งานวิจัยไทบ้าน อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี |
หน่วยงาน | มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | ไทบ้านเป็นชื่อที่ชาวบ้านบริเวณปากมูลเรียกตัวเอง หลังจากการปิดเขื่อน 8 ปี ปลาได้หายไป และเมื่อเปิดเขื่อน 1 ปี ปลาได้กลับคืนมาอันดับแรก มีการทำบันทึกข้อมูลปลาที่ชาวบ้านหามา มีการวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับพันธุ์ปลา ภูมิปัญญาของผู้คนริมสองฝั่งแม่น้ำมูล ได้ทำการรวบรวมจดบันทึกไว้อย่างเป็นระบบ และยังรวบรวมเรื่องระบบนิเวศน์แม่น้ำมูล เครื่องมือหาปลา พืชผักสมุนไพร เรื่องเกษตรริมมูล เรื่องวิถีชีวิตและวัฒนธรรม โดยชาวบ้านเป็นผู้วิจัย มีผู้ช่วยวิจัยเป็นนักวิชาการอิสระและนักเรียน ผลการศึกษาพบว่า มีปลากลับสู่ธรรมชาติแม่น้ำมูลถึงกว่า 148 ชนิด และการอพยพของปลาระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำมูลนั้นเกิดขึ้นตลอด11 เดือน ไม่ได้อพยพเพียง 4 เดือน ก่อนหน้านี้ระบบนิเวศน์ของแม่น้ำมูลเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วภายหลังเปิดประตูเขื่อนแก่งทั้ง 35 แก่ง ระบบความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนตามธรรมชาติของแก่ง โขดหิน ถ้ำฯลฯ กลับมาเป็น ทั้งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหารที่วางไข่ แหล่งอนุบาลลูกอ่อนของปลา พรรณพืชผักสมุนไพร กลับคืนมา น้ำที่เคยเน่าเสียกลับมาใสสะอาดอีกครั้ง ชาวบ้านมีอาหารพอเพียง ทุกครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเศรษฐกิจชุมชนโดยรวม ทำให้วิถีชีวิตของชุมชนดีขึ้น |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.youtube.com/watch?v=xpbyoUltA6E |
สาขาการวิจัย |
|
งานวิจัยไทบ้าน อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.