- ภานุ พัฒนปณิธิพงศ์
- 556 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนังประเพณีวัฏจักรชีวิตรอบปี ของคนถิ่นล้านนา (หมายเลข 2) |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | มานิตย์ โกวฤทธิ์ |
คำสำคัญ | ศิลปะ;จิตรกรรมฝาผนัง;ประเพณีรอบปี |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนังประเพณีวัฏจักรชีวิตรอบปีของคนถิ่นล้านนา เป็นงานสร้างสรรค์จิตรกรรมบนฝาผนังของพระอุโบสถ วัดท่าข้าม (ชัยชนะ) ตำบลหางดง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เทคนิคสีอะครีลิค เป็นรูปแบบศิลปะผสมผสานในเชิงรูปธรรม (Realistic Art) และเชิงนามธรรม (Abstract Art) และกึ่งรูปกึ่งนาม (Semi Abstract Art) ในลักษณะจิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย (Thai Contemporary Painting) มีเนื้อหาเกี่ยวกับคติความเชื่อในพระพุทธศาสนา ประเพณีพิธีกรรมของท้องถิ่นในรอบปีและพิธีกรรมเกี่ยวกับวัฏจักรชีวิตของคนในชุมชน โดยถือเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ชุมชนในระหว่างปี พ.ศ.2557 - 2560 แบ่งเป็นฝาผนังในภาคกลางคืนและกลางวัน เพื่อสะท้อนเรื่องราวของชุมชนผ่านอาคารบ้านเรือน ศาสนสถาน และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ โดยไม่มีการวาดภาพผู้คน เว้นเฉพาะภาพถ่ายบุคคล เพื่อให้สิ่งเหล่านั้นเล่าเรื่องผ่านความรู้สึกของผู้ชม ส่วนภาพด้านหลังพระประธาน สื่อเรื่องราวคติไตรภูมิของพระพุทธศาสนา พระธรรมจักร และภาพปีนักษัตร 12 ราศีของล้านนา ภาพด้านหน้าพระประธาน สื่อแสดงพระแม่ธรณีบีบมวยผม และภาพพุทธประวัติเกี่ยวกับสตรีในพระพุทธศาสนา เสาพระอุโบสถแสดงภาพมงคล 108 เพื่อสื่อถึงการเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในล้านนา และประดับประดาด้วยลายคำล้านนา แสดงถึงความรุ่งเรืองและการค้ำจุนพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ผสมผสานการวิจัยแบบมีส่วนร่วมในชุมชน และการจัดกิจกรรมถ่ายทอดงานวิจัยสู่ชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านและเยาวชนได้ตระหนักถึงความงดงามของศิลปะและเกิดจิตสำนึกรักในวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง รวมไปถึงการดำรงชีวิตอยู่ในธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่ดี และสังคมที่สงบสุข |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.youtube.com/watch?v=UeDzUvJ1UiE&feature=youtu.be |
สาขาการวิจัย |
|