ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
ผลของสารกำจัดวัชพืชพาราควอทต่อการทำงานของเอนไซม์ Alanine aminotransferase และ Aspartate aminotransferase และการเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อตับ ปลาตะเพียนขาว Silver barb (Babonymus gonionotus) |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
ศิโรรัตน์ ศรีบาลแจ่ม |
เจ้าของผลงานร่วม |
ศิริภาวี เจริญวัฒนศักดิ์, ธงชัย จำปาศรี, ชไมพร จำปาศรี, บัณฑิต ยวงสร้อย |
คำสำคัญ |
ปลาน้ำจืด, สารกำจำวัชพืช, พาราควอท, มิญชวิทยา, ALT, AST |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ |
2561 |
คำอธิบาย |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของสารกำจัดศัตรูพืชพาราควอทที่ความเข้มข้น 15 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่ระยะเวลา 4, 6 และ 8 วันหลังได้รับสารพิษตามลำดับ ต่อการทำงานของเอนไซม์สองชนิดคือ Alanine aminotransferase (ALT) และ Aspartate aminotransferase (AST) และการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อตับปลาตะเพียนขาว ผลการศึกษาพบว่าค่าความเป็นพิษเฉียบพลันของพาราควอทในปลาตะเพียนขาวน้ำหนักเฉลี่ย 32.60+1.62 กรัม ในสภาวะน้ำนิ่งนาน 96 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 21.50 (18.34-24.60) มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับการทำงานของเอนไซม์ Alanine aminotransferase (ALT) และ Aspartate aminotransferase (AST) มีค่าสูงขึ้นในวันที่ 4 6 และ 8 อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อตับ ระยะแรก (4 วันหลังสัมผัสสารพิษ) พบการบวมของเซลล์ตับ รวมทั้งมีการเพิ่มจำนวนและขนาดของเซลล์ ระยะต่อมา (6 วันหลังสัมผัสสารพิษ) พบเลือดคั่งในเส้นเลือดดำ และเส้นเลือดฝอย อยู่ทั่วไปภายในเซลล์ตับ และในระยะที่รุนแรงสุด (8 วันหลังสัมผัสสารพิษ) พบเซลล์ตับเสื่อมสลายแบบมีแวคิวโอล จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า พาราควอทสามารถเหนี่ยวนำเอนไซม์บ่งชี้การทำงานของตับชนิด ALT และ AST ให้เพิ่มขึ้นและมีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของตับปลา |
สาขาการวิจัย |
|