ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ฟาร์มหมูหลุม ทางเลือกใหม่ที่ยั่งยืน ต้นทุนไม่สูง |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สุพจน์ สิงห์โตศรี |
คำสำคัญ | ฟาร์มหมูหลุม;การเลี้ยงหมูหลุม |
หน่วยงาน | เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูหลุม ต.ดอนแร่ อ.เมือง จ.ราชบุรี |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | การเลี้ยงหมูหลุมมีต้นทุนน้อย เช่น โรงเรือนไม่ต้องเทพื้นคอนกรีต ใช้แกลบ 300 กิโลกรัมเป็นวัสดุรองพื้น ใช้พื้นที่น้อยกว่าการเลี้ยงในฟาร์ม 3 เท่า คอกมีขนาด 2*3 เมตร ไม่ต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย อาหารเป็นอาหารข้นซึ่งอาจจะซื้อหรือผสมใช้เอง โดยนำต้นกล้วยมาหมัก ต้นกล้วย 100 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 4 กิโลกรัม เกลือ 1 กิโลกรัม ระยะเวลาหมัก 4 วัน สามารถลดต้นทุนได้ตัวละ 1,000 บาท การเลี้ยงในระบบฟาร์มจะมีค่าอาหาร 3,600-3,700 บาท/สุกรหนึ่งตัว หากใช้อาหารหมักจะมีค่าอาหาร 2 พันกว่าบาท ใช้แรงงานน้อยเพราะไม่ต้องทำความสะอาดคอก การเลี้ยงนี้จะไม่ใช้สารเคมี ไม่ตัดเขี้ยว ไม่ตัดหาง เนื้อหมูจึงไม่มีกลิ่นคาว สามารถเก็บรักษาในอุณหภูมิปกติได้นานกว่า 12 ชั่วโมง เนื้อจะไม่มีสีเขียว แกลบรองพื้นคอกในระยะเวลา 3 เดือนจะเป็นปุ๋ยมีน้ำหนัก 1,500 กิโลกรัม ระยะเวลา 1 ปี แม่สุกรจะผลิตปุ๋ยได้ 6,000 กิโลกรัม ขายได้ 12,000 บาท นำมาเป็นค่าอาหารได้ แม่สุกรในระยะเวลา 1 ปีจะได้ลูกสุกร 20 กว่าตัว หมูขุน 1 ตัวใช้น้ำปริมาณ 5 ลิตร/วัน แม่สุกรจะใช้น้ำ 10 ลิตร/ตัว/วัน การป้องกันโรคใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่นคือ ไอเอ็มโอกับน้ำหมักผลไม้ 2 อย่าง ฉีดพ่นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ข้อดีของหมูหลุมคือ ไม่มีน้ำเสีย กลิ่นและแมลงวัน |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.youtube.com/watch?v=6uxlSaCnGok&t=3s |
สาขาการวิจัย |
|
ฟาร์มหมูหลุม ทางเลือกใหม่ที่ยั่งยืน ต้นทุนไม่สูง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.