ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ศิลปะเสียงมนุษย์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง เตยงาม คุปตะบุตร
เจ้าของผลงานร่วม ภัทรพงศ์ ศรีปัญญา , ทศธิป สูนย์สาธร
คำสำคัญ ศิลปะเสียง;เสียงมนุษย์;ศิลปะติดตั้ง;ภาวะเลอเลิศ
หน่วยงาน คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย โครงการวิจัย “ศิลปะเสียงมนุษย์” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเสียง โดยมีเสียงมนุษย์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและเสียงมนุษย์นี้ทำงานร่วมกับภาพ และพื้นที่ ได้อย่างมี เอกภาพ 2) เพื่อนำเสนอการรับรู้ จินตนาการ และทัศนคติของกลุ่มผู้วิจัยที่มีต่อเสียงมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น ในเชิงกายภาพและความหมายของเสียงมนุษย์ 3) เพื่อนำเสนอสุนทรียะในลักษณะ sublime อันเกิดจาก องค์ประกอบของภาพ เสียง และพื้นที่ โดยที่ผู้ชมสามารถรับรู้ ภาวะเลอเลิศ ผ่านประสาทรับรู้ทางหู ที่ทำงานร่วมกับตาและกายสัมผัส เป็นสำคัญ กลุ่มผู้วิจัยได้ออกแบบวิธีวิทยา ได้แก่ การทบทวนวรรณกรรมเรื่องภาวะเลอเลิศ การสำรวจ เสียงมนุษย์ที่พบได้ในผลงานศิลปะและดนตรีทดลอง และการสำรวจการใช้องค์ประกอบได้แก่ ภาพ เสียง และพื้นที่ที่พบได้ในผลงานศิลปะและดนตรีทดลอง การสำรวจภาคเอกสารดังกล่าวนำไปสู่การสำรวจภาค สนาม ได้แก่ การสำรวจลักษณะของภาวะเลอเลิศในสังคมไทยร่วมสมัย โดยใช้วิธีการสังเกต รวบรวม และอภิปรายสิ่งที่เกิดขึ้น หลังจากนั้น กลุ่มผู้วิจัยได้ร่วมกันสร้างกรอบแนวความคิดเพื่อสร้างสรรค์ภาพ ร่างสามมิติ ก่อนการสร้างสรรค์ กลุ่มผู้วิจัย ได้ลงพื้นที่ภาคสนามอีกครั้งเพื่อหาข้อมูลที่ละเอียดขึ้น ลำดับสุดท้ายจึงเป็นการสร้างสรรค์ผลงานในสตูดิโอ กลุ่มผู้วิจัยได้คัดเลือกสามเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย เป็นเหตุการณ์ที่เกิดคนละพื้นที่ คนละเวลา และคนละเงื่อนไขทางทางสังคมและวัฒนธรรมไทย ได้แก่ 1) ความศิวิไลน์และทันสมัยของ เมืองหลวงกรุงเทพมหานคร 2) ความเงียบสงบของวัดป่าในภาคอิสาน 3) วิถีชีวิตของผู้หญิงมุสลิม ในภาคใต้ จะเห็นได้ว่า ทั้งสามเหตุการณ์ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันแต่ประการใด กลุ่มผู้วิจัยย่นย่อเวลา และพื้นที่ของสามเหตุการณ์ให้เหลื่อมซ้อน จนเป็นสถานการณ์เดียวกัน สถานการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ สะท้อนให้เห็นภาวะเลอเลิศ ที่เกิดจากการสังเกตุของกลุ่มผู้วิจัยที่มีต่อสังคมไทยในเวลาปัจจุบัน ผลของการวิจัยสร้างสรรค์ คือ ผลงานศิลปะเสียงจัดวาง ‘The Art of Human Voice: A reflection of contemporary sublime’ (2017) เทคนิค สื่อผสม ขนาดผันแปร กลุ่มผู้วิจัยได้ออกแบบให้เกิดปรากฏ การณ์ของสภาวะเลอเลิศ โดยสร้างความพลิกผันและฉีกกระชากทางความรู้สึกจากเหตุการณ์ธรรมดา สามัญ ไปสู่เหตุการณ์ที่แสดงความผิดปรกติจากสิ่งที่เห็นหรือสิ่งควรจะเป็น โดยทำให้สิ่งที่เห็นหรือภาพ กับสิ่งที่ได้ยินหรือเสียงไม่ตรงกัน หลุดออกจากกัน เกิดจากสลับภาพ เสียง และพื้นที่ของทั้งสามเหตุการณ์ อย่างที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เสียงที่ผสมกัน ภาพและพื้นที่ที่ผิดปรกติไปจากเดิมทำให้เกิดเนื้อหาใหม่ ที่ต้องการการตีความใหม่ และท้ายที่สุด ผู้ชมอาจเกิดเกิดความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าควร จะตีความเนื้อหาใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างไร อาจกล่าวได้ว่า สุนทรียะของภาวะเลอเลิศที่เกิดขึ้นในสังคม ไทย ร่วมสมัย คือ ความงามของภาวะของการรับรู้ที่ไม่อาจสรุปได้โดยง่ายจากมุมเพียงมุมเดียว หรือจากบรรทัด ฐานเดียว
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง