ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การปรับปรุงพันธุ์กวางเศรษฐกิจในประเทศไทย (The improvement of economic deer breed in Thailand)
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง มณี อัชวรานนท์
คำสำคัญ การปรับปรุงพันธุ์กวาง;พันธุ์กวางเศรษฐกิจ
หน่วยงาน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย การปรับปรุงพันธุ์กวางเศรษฐกิจในประเทศไทยโดยการทดลองผสมข้ามสปีชีส์กวาง เพื่อให้ได้กวางลูกผสมที่มีคุณสมบัติของเขากวางอ่อนขนาดใหญ่ แต่เจริญเติบโตได้ดีในอากาศร้อนชื้น ทนทานต่อโรค กินอาหารได้หลากหลายชนิดที่มีในประเทศไทย ทดลองที่ฟาร์มกวางม.รามคำแหง ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 – 2555 การทดลองที่ 1 กวางซิก้าเพศผู้ผสมพันธุ์กับกวางรูซ่าเพศเมีย กวางเพศเมียตั้งครรภ์ ลูกคลอดก่อนกำหนด ตายทันทีหลังคลอด ไม่สมบูรณ์ ไม่มีขน การทดลองที่ 2 กวางรูซ่าเพศผู้ไม่ผสมพันธุ์กับกวางซิก้าเพศเมีย การทดลองที่ 3 กวางแดงเพศผู้เลือกผสมพันธุ์กับกวางซิก้าเพศเมีย กวางซิก้าเพศเมียตั้งครรภ์ 4 ตัว คลอดลูกเป็นเพศผู้ 2 ตัว เพศเมีย 2 ตัว แต่ไม่ผสมพันธุ์กับกวางรูซ่าเพศเมีย เมื่อเปรียบเทียบลักษณะและขนาดระหว่างกวางลูกผสม ลูกกวางแดง และลูกกวางซิก้าอายุเท่ากันในเพศเดียวกัน พบว่าขนาดของอวัยวะของกวางลูกผสมเล็กกว่าของลูกกวางแดง แต่ใหญ่และยาวกว่าลูกกวางซิก้า แต่ของกวางลูกผสมเพศผู้มีขนาดใกล้เคียงกับลูกกวางแดงเพศเมีย ของกวางลูกผสมเพศเมียมีขนาดใหญ่และยาวกว่าลูกกวางซิก้าเพศผู้ กวางลูกผสมมีช่วงคอ ขาหน้า ขาหลัง ใบหู และหาง ยาวกว่าของกวางซิก้าเพศเมียโตเต็มวัย สีขนลำตัวเป็นสีส้มอมน้ำตาลเข้มกว่าของกวางซิก้า แต่สีน้ำตาลจางกว่าของกวางแดง มีจุดสีขาวจางกว่าของกวางซิก้า ใบหูมีขอบสีดำเหมือนกวางแดง แต่กวางซิก้าขอบสีดำมีน้อยกว่า หางสีน้ำตาลดำเป็นส่วนผสมของสีหางของกวางแดงซึ่งมีหางสีน้ำตาลกับของกวางซิก้าซึ่งมีหางสีดำขาว อย่างไรก็ตาม การทดลองและรายงานลักษณะของกวางลูกผสมยังคงดำเนินการต่อไปเพราะขณะนี้กวางลูกผสมอายุ 15 เดือน
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.zoo.ru.ac.th/wp-content/uploads/2016/11/02-Deer_Improvement.pdf
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง