ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การจัดการความรู้การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเครื่องผ่าไม้ไผ่และเครื่องจักตอกแบบเลาะข้อเพื่อการส่งเสริมอาชีพตามแนวพระราชดำริสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานประเภทเข่งไม้ไผ่อย่างยั่งยืน |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพโรจน์ นะเที่ยง |
เจ้าของผลงานร่วม |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กันต์ อินทุวงศ์ ,
อาจารย์พิทักษ์ คล้ายชม |
คำสำคัญ |
เข่งไม้ไผ่;เครื่องจักตอกแบบเลาะข้อ;เครื่องจักสาน |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ |
ปีที่เผยแพร่ |
2561 |
คำอธิบาย |
โครงการจัดการความรู้การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเครื่องผ่าไม้ไผ่และเครื่องจักตอกแบบเลาะข้อ เพื่อการส่งเสริมอาชีพตามแนวพระราชดำริสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานประเภทเข่งไม้ไผ่อย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพและการสร้างรายได้เสริมให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานประเภทเข่งไม้ไผ่ โดยการนำเทคโนโลยีเครื่องผ่าไม้ไผ่และเครื่องจักตอกแบบเลาะข้อไปขยายผลสู่การปฏิบัติ ในเขตพื้นที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
เพิ่มศักยภาพของกลุ่มอาชีพชุมชนผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานประเภทเข่งไม้ไผ่ ในพื้นที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ในขั้นตอนการเตรียมเส้นตอกสำหรับนำไปจักสานเข่งไม้ไผ่ พบว่าการใช้มีดผ่าไม้ไผ่เพื่อเตรียมเส้นตอกสำหรับการจักสานด้วยแรงงานคน ทางกลุ่มผู้ผลิตจะต้องเสียเวลาในการเตรียมเส้นตอกสำหรับจักสานเข่ง 1 ใบ จะต้องใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 6 ชั่วโมง จึงทำให้เหลือเวลาในการที่จะสานเข่งเพียง 2 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้นจึงทำให้ผู้ผลิตสามารถสานเข่งได้เพียงวันละ 1 ใบ นั้นเท่ากับว่าผู้ผลิตจะมีรายได้เพียงวันละ 180 บาทต่อวัน แต่เมื่อผู้ผลิตใช้วิธีการเตรียมเส้นตอกด้วยเครื่องจักตอกแบบเลาะข้อไม้ไผ่และเครื่องผ่าไม้ไผ่ พบว่า ผู้ผลิตใช้เวลาในการเตรียมเส้นตอกสำหรับการผลิตเข่ง 1 ใบ โดยใช้เวลาเฉลี่ยเพียง 2 ชั่วโมง จึงทำให้ผู้ผลิตเหลือเวลาอยู่อีก 6 ชั่วโมงต่อวัน จึงส่งผลให้สามารถสานเข่งได้เพิ่มขึ้นเป็นวันละ 3 ใบ ซึ่งเท่ากับว่าผู้ผลิตจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นวันละ 540 บาท คิดเป็น 3 เท่าเมื่อเทียบกับวิธีการเตรียมเส้นตอกเพื่อจักสานเข่งไม้ไผ่ด้วยวิธีการแบบเดิม |
สาขาการวิจัย |
|