ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การสร้างและพัฒนาเครื่องผลิตโอโซนสำหรับการบำบัดน้ำเสียของโรงงานประเภทชุบโลหะด้วยไฟฟ้า
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง วีระเดช พิริยวงษ์
คำสำคัญ น้ำเสีย;ชุบโลหะด้วยไฟฟ้า;โลหะหนัก;ไซยาไนด์;ตกตะกอนเคมี;โอโซน
หน่วยงาน ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย น้ำเสียของโรงงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้าขนาดเล็กเป็นต้นเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งน้ำเสียของโรงงานประเภทนี้จะประกอบด้วย โลหะหนักต่างๆ เช่น เหล็ก สังกะสี ทองแดง และ สารพิษที่สำคัญคือไซยาไนด์ซึ่งใช้เป็นสารเคมีที่นิยมใช้ในกระบวนการผลิตชิ้นงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้าซึ่งไซยาไนด์มีความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในแหล่งน้ำ สัตว์น้ำรวมถึงเป็นการสะสมสารพิษในดิน และยังเป็นพิษกับมนุษย์โดยตรงอีกทั้งยังเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งในปัจจุบันการกำจัดไซยาไนด์นิยมใช้สารเคมีซึ่งมีสารประกอบคลอรีน เช่น โซเดียมไฮโปคลอไรด์ จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานประเภทนี้ทั้งในและต่างประเทศส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพการกำจัดไซยาไนด์ในน้ำเสียเป็นหลัก ซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่ไม่ได้รายงานค่าพารามิเตอร์หลักทั้งหมดของน้ำเสียหลังการบำบัด ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงต้องการสร้างระบบอัตโนมัติที่สามารถบำบัดน้ำเสียโรงงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้าแบบมีไซยาไนด์โดยใช้การตกตะกอนเคมีร่วมกับโอโซนซึ่งประกอบด้วย 1 ระบบการตกตะกอนเคมีใช้กำจัดโลหะหนักต่างๆโดยการเติมสารเคมีเพื่อปรับน้ำเสียให้เป็นด่าง โลหะจะเปลี่ยนอยู่ในรูปของโลหะออกไซด์ในด่างจึงทำให้เกิดการตกตะกอน 2 ระบบโอโซนซึ่งจะถูกออกแบบ จำลองการทำงาน และ ทดสอบ เพื่อใช้ลดค่าความสกปรกของน้ำเสีย(ค่าซีโอดี) และกำจัดไซยาไนด์ ซึ่งการกำจัดไซยาไนด์โดยใช้โอโซนมีข้อดีคือ ลดการใช้สารเคมีในการกำจัดไซยาไนด์ ซึ่งหลังการบำบัดน้ำเสียด้วยโอโซนจะได้สารประกอบจำพวก ออกซิเจน น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ระบบโอโซนที่สร้างขึ้นสามารถผลิตปริมาณโอโซนได้ถึง 117 กรัมต่อชั่วโมง โดยมีราคาต้นทุนถูกกว่าเครื่องผลิตโอโซนในแถบประเทศอเมริกา และยุโรปประมาณ 3 เท่า ระบบสามารถบำบัดน้ำเสียจากโรงงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้าแบบมีไซยาไนด์ได้ซึ่งสามารถบำบัดน้ำเสียได้วันละ 2160 ลิตร โดยค่าน้ำเสียหลักประกอบด้วยค่า ซีโอดี บีโอดี ทีเคเอ็น ทีดีเอส สังกะสี ทองแดง เหล็ก และไซยาไนด์ ผ่านมาตราฐานน้ำทิ้ง อีกทั้งระบบยังสามารถดัดแปลงการทำงานให้ใช้งานกับการกำจัดแบบเดิมซึ่งใช้โซเดียมไฮโปคลอไรด์และสามารถพัฒนาเป็นการออกซิเดชั่นขั้นสูงได้อีกด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.nrct.go.th
สาขาการวิจัย
  • วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง