ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำเลย
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง นพดล ตั้งสกุล
เจ้าของผลงานร่วม ทรงยศ วีระทวีมาศ , สุกัญญา พรหมนารท , อธิป อุทัยวัฒนานนท์ , กุลศรี ตั้งสกุล
คำสำคัญ การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัย;ภูมิปัญญาท้องถิ่น;ลุ่มน้ำเลย
หน่วยงาน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย ชุมชนบ้านนาอ้อ เป็นหมู่บ้านไทเลยที่ตั้งอยู่ที่ราบลุ่มเชิงเขาระหว่างภูผาปูกับภูผาทาที มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มีแหล่งอาหารจากธรรมชาติ สภาพภูมิประเทศเป็นภูมิปัญญาที่แสดงให้เห็นถึงการอาศัยร่วมกันระหว่างคนกับธรรมชาติ วิถีชีวิตในเรือนเรือนไทเลย มีบันไดขึ้นหน้าเรือน มีที่นั่งยกสูงเป็นขอบกันตกของส่วนนอกชาน ส่วนชานเปิดโล่งโดยรอบ ถัดเข้าไปเป็นชานในยกพื้นสูงประมาณ 2 คืบ เรียกว่า เชียหรือระเบียง ใช้พักผ่อนและเอนกประสงค์ มีหลังคาคลุม ภายในเรือนตรงส่วนหัวเรือนเป็นที่สำหรับวางหิ้งพระ เรือนนอนเป็นเรือนขนาดสามห้อง ตอนท้ายเรือนต่อกับส่วนที่เป็นเรือนครัวหรือเฮือนเป็นครัวเตาไฟ ภายในเรือนเป็นเรือนเปิดโล่งทั้งหมด เล้าข้าวเป็นอาคารในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าโครงสร้างเป็นไม้ เสาหน้าตัดสี่เหลี่ยมตีไม้โครงคร่าวไว้ด้านนอกฝา เล้าข้าว เป็นไม้กระดานตีด้านในตามแนวตั้งหรืออาจใช้ไม้ไผ่ทุบเป็นฟากกรุเป็นเล้า วัสดุมุงหลังคาเป็นกระเบื้องดินเผา ต่อมาใช้สังกะสี พื้นเล้าข้าวยกสูง ภูมิปัญญาการจัดการสภาวะภายในเรือนไทเลย ก่อสร้างด้วยไม้ตัวเรือนเปิดส่วยระเบียงให้โล่ง ลักษณะหลังคาปั้นหยาทรงสูง ช่วยให้มีพื้นที่ว่างใต้หลังคามากซึ่งกันความร้อน พฤติกรรมการใช้พื้นที่เรือนในวิถีชีวิติของชาวบ้าน เวลากลางวันที่อุณหภูมิค่อนข้างสูงจะอาศัยอยู่ส่วนระเบียงที่เปิดโล่ง
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=4F4wUjuQzWA
สาขาการวิจัย -
วิดีโอ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง