ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การจัดการความรู้และขยายผลเทคโนโลยีเครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนปล่อยทิ้งแบบเคลื่อนย้ายได้ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรมาส เลาหวณิช |
เจ้าของผลงานร่วม | ผศ.ดร.สุพรรณ ยั่งยืน , อาจารย์ ดร.เชิดพงษ์ เชี่ยวชาญวัฒนา , อาจารย์ ทิวานัถ แก้วสอนดี |
คำสำคัญ | เครื่องอบแห้ง |
หน่วยงาน | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 โทรศัพท์ 043 754 316 โทรสาร 043 754 316 |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | การจัดการความรู้และขยายผลเทคโนโลยีเครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนปล่อยทิ้ง ที่ได้พัฒนาและสร้างขึ้น โดยสามารถเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ สำหรับใช้ในการอบแห้งผลิตเกษตรที่เป็นเม็ดหรือเมล็ด โดยลักษณะการทำงานมีเกลียวลำเลียงสำหรับป้อนวัสดุเข้าสู่ถังอบแห้งทรงกระบอกหมุนที่ภายในติดตั้งอุปกรณ์ลำเลียง สองช่วง คือ ช่วงที่หนึ่งเกลียวลำเลียงซึ่งติดตั้งขดวนรอบในถัง และช่วงที่สองติดตั้งใบโปรยวัสดุตามแนวรัศมีของตัวถังสำหรับโปรยเมล็ดพืชในขณะเคลื่อนที่ตามการหมุนของถัง ในส่วนแรกนั้นติดตั้งเบอร์เนอร์อินฟราเรดสำหรับแผ่รังสีให้ความร้อน ส่วนช่วงที่สองนั้นจะดึงเอาแก๊สร้อนจากการเผาไหม้ของเบอร์เนอร์อินฟราเรดโดยใช้พัดลมเป่าจากปลายถังให้พาลมร้อนผ่านไปที่ส่วนที่สองของถังทำให้เกิดการอบแห้งด้วยลมร้อนกับเมล็ดพืชที่โปรยตกลงมาตามแรงโน้มถ่วงตลอดการเคลื่อนที่ เมื่อวัสดุไหลออกจากปลายถังหมุนจะมีเกลียวลำเลียงนำวัสดุที่ผ่านการอบแห้งออก มีความสามารถในการทำงาน 0.5 – 3 ตันต่อชั่วโมง ขึ้นอยู่กับวัสดุ เครื่องอบแห้งใช้พลังงานที่จากแก๊สแอลพีจีประมาณ 1.2 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ใช้กระแสไฟฟ้า 3500 วัตต์ สามารถลดความชื้นได้รอบละ 3-6 เปอร์เซ็นต์ฐานเปียก ใช้พลังงานจำเพาะรวม 4.38 เมกะจูลต่อกิโลกรัมน้ำระเหย ค่าใช้จ่ายรวม 366 บาทต่อตันสำหรับกรณีใช้งานต่ำสุด 4 ตันต่อวัน และมีจุดคืนทุน 6 ปี 7 เดือน 12 วัน ในกรณีใช้งานเครื่อง 120 วันต่อปี |
สาขาการวิจัย |
|
การจัดการความรู้และขยายผลเทคโนโลยีเครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนปล่อยทิ้งแบบเคลื่อนย้ายได้ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.