ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการป้องกันการกัดกร่อนด้วยโลหะกันกร่อน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ดร.นภฉัตร ธารีลาภ |
คำสำคัญ | การป้องกัน;โลหะกันกร่อน;การกัดกร่อนด้วยโลหะกันกร่อน |
หน่วยงาน | สายวิชาเทคโนโลยีวัสดุ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | การกัดกร่อนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โลหะเกิดความเสียหาย ทำให้กองทัพเรือต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง และเปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่เป็นมูลค่ามหาศาล ในการป้องกันการกัดกร่อนนั้นทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ประหยัด สะดวก รวดเร็ว และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ คือการใช้โลหะกันกร่อน (Sacrificial Anodes) ติดเข้ากับตัวเรือหรืออุปกรณ์ต่างๆ โดยในการป้องกันการกัดกร่อนด้วยโลหะกันกร่อนให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดนั้น จะต้องพิจารณาทั้งระบบ ตั้งแต่กระบวนการผลิตโลหะกันกร่อน การตรวจสอบคุณภาพของโลหะกันกร่อน การเลือกใช้โลหะกันกร่อน การติดตั้ง ตลอดจนการตรวจสอบการป้องกันการกัดกร่อนหลังการติดตั้งโลหะกันกร่อน ซึ่งองค์ความรู้ของกระบวนการเหล่านี้ ยังไม่มีถ่ายทอดไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และยังไม่มีการรวบรวมเผยแพร่เป็นคู่มือ จึงทำให้การการป้องกันการกัดกร่อนโดยใช้โลหะกันกร่อนยังไม่มีประสิทธิภาพดีเท่าที่ควร โครงการวิจัยนี้จึงจะทำการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่คณะผู้วิจัยได้มีการสะสมความรู้ไว้ ไปยังกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นบุคลากรของกรมอู่ทหารเรืออย่างเป็นระบบ ด้วยการถ่ายทอดความรู้ทั้งในด้านทฤษฎี ปฏิบัติ ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงการนำไปใช้งาน โดยจัดทำเป็นคู่มือ หรือแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) เพื่อนำไปใช้ในหน่วยงาน โดยแบ่งองค์ความรู้ออกเป็น 4 ส่วนได้แก่ 1.องค์ความรู้ด้านการกัดกร่อนและการป้องกันการกัดกร่อนในยุทโธปกรณ์ของกองทัพเรือ 2.องค์ความรู้ด้านการผลิตโลหะด้วยวิธีการหล่อแบบกึ่งแข็ง 3.องค์ความรู้ด้านปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลในการป้องกัน และการตรวจสอบการป้องกันการกัดกร่อนหลังการติดตั้งโลหะกันกร่อน 4.องค์ความรู้ด้านการทดสอบโลหะกันกร่อนเพื่อตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของโลหะกันกร่อน |
สาขาการวิจัย |
|
การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการป้องกันการกัดกร่อนด้วยโลหะกันกร่อน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.