ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การประยุกต์ใช้เทคนิคการผ่ารังไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพื่อสนับสนุนระบบพยากรณ์การระบาดจากแมลงอพยพ
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ดร.จิรนันท์ ปิยะพงษ์กุล
เจ้าของผลงานร่วม นางสุกัญญา อรัญมิตร , นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ วันทนา ศรีรัตนศักดิ์ , นางสุนทรี แสงจันทร์ , นางวรรณพรรณ จันลาภา , นายเรวัติ ภัทรสุทธิ
คำสำคัญ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล;ระยะการเจริญเติบโตของรังไข่;การผ่าตัดรังไข่;กระบวนการสร้างสารอาหารในเซลล์ไข่;ไข่ที่เจริญเต็มที่;กับดักแสงไฟ;การโฉบแมลง;การอพยพเข้า;การอพยพออก;ค่าอุณหภูมิฐาน;ค่ามาตรฐานพลังงานความร้อนที่สะสมในร่างกายของสิ่งมีชีวิต;การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย เป้าหมายการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบเตือนภัยการระบาดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ผลวิจัยได้รูปแบบมาตรฐานระยะการพัฒนารังไข่แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ก่อนตกไข่ ช่วงที่ 2 เซลล์ไข่พัฒนาเต็มที่และเป็นช่วงที่แมลงวางไข่ ช่วงที่ 3 แมลงหยุดการผลิตไข่และวางไข่ พบคุณลักษณะของรังไข่ และสัณฐานวิทยาภายนอกของส่วนท้องสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้สำคัญได้ว่าแมลงพร้อมที่จะวางไข่ และผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ของระยะการพัฒนารังไข่ของประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ดักได้จากกับดักแสงไฟและในแปลงนาจัดอยู่ในระดับสูง
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License

การประยุกต์ใช้เทคนิคการผ่ารังไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพื่อสนับสนุนระบบพยากรณ์การระบาดจากแมลงอพยพ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง