ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง สถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กรณีศึกษา: เรือนลาหู่ เรือนลาวโซ่ง และเรือนไทยสุโขทย (Vernacular Architecture of Ethnic Groups in 9 Provinces of Lower Northern Area, Thailand : Case study: The Lahu house, the Lao Song house a
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง วัชรินทร์ จินต์วุฒิ
คำสำคัญ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น;กลุ่มชาติพันธุ์
หน่วยงาน ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย การศึกษาสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นของ 3 กลุ่มชาติพันธุ์คือ กลุ่มลาหู่ กลุ่มลาวโซ่ง และกลุ่มไทยสุโขทัย เป็นตัวแทนของกลุ่มชนไทยภูเขา กลุ่มไทยลาว และกลุ่มไทยถิ่น พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่น คือ สภาพแวดล้อมชุมชนที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์รวมทั้ง ความต้องการยกฐานะทางสังคม คติความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์มีผลอย่างมากต่อการรักษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์ไว้แบ่งออกได้ 2 ประเภท 1. ชุมชนเป็นผู้สร้างความเชื่อขึ้นมา เพื่อรักษา ความสงบสุขและดํารงอยู่ซึ่งเผ่าพันธุ์ของตน ผ่านความเชื่อในเรื่องของผีและขวัญ ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ และกลุ่มชาติพันธุ์ลาว โซ่ง โดยรูปแบบเรือนถูกกําหนดตามความเชื่อของผู้นําจิตวิญญาณ 2. ชุมชนมีความเชื่อและดํารงรักษาประเพณีของ ศาสนาพุทธ ความเห็นของคนในชุมชนมุ่งไปสู่ความพ้นทุกข์ทางใจ ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยสุโขทัย โดยรูปแบบเรือนนั้นสอดคล้องไปตามบริบทของพื้นที่และมีความอิสระในการจัดพื้นที่ใช้สอยภายในเรือน
ข้อมูลเพิ่มเติม http://archmis.arch.nu.ac.th/arch_ajnu/journal/article_file/article_2015_90.pdf
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง