ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | บทเพลงและเสียงดนตรีในพิธีกรรมรักษาโรคของหมอขวัญที่อำเภอนครพนม จังหวัดนครพนม (Lyrics and music sound from therapeutic ceremonies of the Phu-Thai shamans in Renu Nakhon district, Nakhon Phanom province) |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | อลงกรณ์ อิทธิผล |
คำสำคัญ | ผู้ไทย;วัจนกรรม;หมอขวัญ (หมอเหยา);การฮ้องเอิ้นขวัญ |
หน่วยงาน | คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา นครปฐม |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | หมอขวัญใช้คำพูดชนิดปลอบประโลมใจผู้เจ็บป่วยมากที่สุด และมีคำพูดลักษณะอื่นๆ ประกอบในขณะเรียกขวัญ ได้แก่ การบอกกล่าว การชี้นำ การผูกมัด การแสดงอารมณ์ความรู้สึกและการประกาศแถลงการณ์ คำพูดแบบอ้อมค้อมในการวิงวอนร้องขอ มีการใช้ประโยคที่เป็นคำถาม แต่มีเจตนาเพื่อบอกเล่าหรือขอร้องให้ขวัญของผู้ป่วยกลับมาเข้าร่าง เพื่อให้หายเจ็บป่วย กลับมาเป็นสุขตามปกติ รวมทั้งใช้คำพูดเพื่อปลอบประโลมใจผู้เจ็บป่วย แต่ใช้รูปประโยคใหม่เป็นประโยคคำสั่งห้ามปรามแทน สำหรับการเก็บข้อมูลภาคสนามมาวิเคราะห์ใช้วิธีการบอกต่อ จากหมอขวัญ 5 คน ให้ผลสรุปสอดคล้องกับทฤษฎีภาษาศาสตร์ เรื่อง การใช้วัจนกรรม (คำพูด) งานวิจัยนี้แสดงอัตลักษณ์ของผู้ไทยในพิธีเหยาเลี้ยงผีที่พบว่า การเหยา (เรียกขวัญ) เป็นวัฒนธรรมของชาวผู้ไทยที่สะท้อนความเชื่อในการรักษาแบบพื้นบ้าน และผู้ป่วยที่หายจากการเจ็บป่วยจะฝากตัวเป็นลูกศิษย์และรับอำนาจศักดิ์สิทธิ์เป็นหมอเหยา (หมอขวัญ) คนต่อไป |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-hs/article/view/105395/83696 |
สาขาการวิจัย |
|