ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ผ้าสร้อยดอกหมากสารคาม
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ราชันย์ นิลวรรณาภา
เจ้าของผลงานร่วม นิ่มนวล จันทรุญ
คำสำคัญ ผ้าลายสร้อยดอกหมาก;สร้อยดอกหมาก
หน่วยงาน สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย มหาสารคามเป็นเมืองประวัติศาสตร์และมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่โดดเด่น กลุ่มวัฒนธรรมไทย-ลาว มีผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของคือผ้าลายสร้อยดอกหมาก ผ้าลายสร้อยดอกหมากเดิมเป็นลายที่มีการทอผ้าในท้องถิ่นเรียกว่าลายโคมสาม ลายโคมห้าและลายโคมไฟ ได้นำลายท้องถิ่นนี้มาประยุกต์รวมกันเป็นลายเดียว สร้อยดอกหมากเป็นความหมายเชิงจิตภาพของคนในท้องถิ่นที่มองถึงช่อดอกหมากที่ย้อยลงมาแล้วจินตนาการมาสู่พื้นผ้าโดยการนำลวดลายมาเรียงต่อกันเหมือนช่อดอกหมาก ผ้าลายสร้อยดอกหมาก ได้สะท้อนตัวตนของคนมหาสารคาม โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ไทยโดยเฉพาะวัฒนธรรมไทย-ลาว ที่อาศัยผืนแผ่นดินนี้ที่ยาวนานได้สะท้อนตัวตนออกมาบนผืนผ้า ปัจจุบันลายสร้อยดอกหมากถือเป็นเอกลักษณ์ของคนมหาสารคาม
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=-AErhjx8yNg
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์
Creative Commons License


ผ้าสร้อยดอกหมากสารคาม is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.

วิดีโอ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง