ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การดัดแปรอนุพันธ์โรดามีนลงในเซลลูโลสอะซิเตทสำหรับตรวจจับไอออน
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง นิโลบล ตั้งสมบัติวิสิทธิ์
คำสำคัญ เซนเซอร์เปลี่ยนสีทางเคมี, เซลลูโลสอะซิเตท, อิเล็กโทรสปินนิง, ไอออนคอปเปอร์, การดูดซับ
หน่วยงาน สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาเซนเซอร์เปลี่ยนสีชนิดของแข็งเพื่อตรวจวัดไอออนคอปเปอร์ในสารละลาย โดยนำเซนเซอร์เคมีที่สังเคราะห์จากอนุพันธ์โรดามีนบี ผสมกับเซลลูโลสอะซิเตทและเอทิลีนไดเอมีนเตตระอะซิติกไดแอนไฮไดรด์ จากนั้นขึ้นรูปเป็นของแข็งด้วยเทคนิคการหล่อแผ่นหรืออิเล็กโทรสปินนิง พบว่าแผ่นเซนเซอร์ที่ได้มีความจำเพาะต่อไอออนคอปเปอร์ดี โดยแสดงการเปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีชมพูอมม่วงที่มีความเข้มสีสูงขึ้นเมื่อความเข้มข้นของคอปเปอร์สูงขึ้น (ช่วงความเข้มข้น 5-400 ppm) แผ่นเส้นใยนาโน 1 กรัม สามารถดูดซับไอออนคอปเปอร์ได้ 30 มิลลิกรัม ที่ 30 องศาเซลเซียส พีเอช 6 เวลาในการจุ่มแช่ 48 ชั่วโมง
สาขาการวิจัย
  • วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
Creative Commons License

การดัดแปรอนุพันธ์โรดามีนลงในเซลลูโลสอะซิเตทสำหรับตรวจจับไอออน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง