- รศ.ดร.วัฒนพงศ์ เกิดทองมี
- 7157 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าเซลล์สุริยะเพื่อใช้ในชนบทห่างไกลในจังหวัดนครราชสีมา |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | เกศินี ภาโนชิต |
คำสำคัญ | ประสิทธิภาพ;เซลล์แสงอาทิตย์;อุณหภูมิ;ความเข้มแสง และกระแสไฟฟ้า |
หน่วยงาน | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | พลังงานแสงอาทิตย์เป็นการนำเอาพลังงานในรูปแบบของแสงอาทิตย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งสามารถนำเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 2 แบบด้วยกัน แบบแรกเป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบของความร้อนมาใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า โดยใช้หลักของกระบวนการเทอร์โมไดนามิกส์ แบบที่สองเป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบของแสงมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าโซลาร์เซลล์ ซึ่งเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) เป็นพลังงานไฟฟ้าทางเลือกหรือพลังงานสะอาดที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน จังหวัดนครราชสีมามีค่าของพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ที่ 5.3 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน วิเคราะห์แล้วพบว่าเป็นพื้นที่เหมาะแก่การติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ในระดับครัวเรือน เพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ที่ยังห่างไกลจากชุมชน ให้มีปริมาณไฟฟ้าที่เพียงพอต่อความต้องการ ลดปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกลได้ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://www.edu.nrru.ac.th/edkorat/wp-content/uploads/2016/08/ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าเซลล์สุริยะเพื่อใช้ในชนบทห่างไกลใน-จังหวัดนครราชสีมา.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าเซลล์สุริยะเพื่อใช้ในชนบทห่างไกลในจังหวัดนครราชสีมา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.