ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ผลของกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลหมักยีสต์ ร่วมกับกากน้ำตาลต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมนในโคเนื้อ
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง เทอดศักดิ์ ปุระมงคล
เจ้าของผลงานร่วม กังวาน ธรรมแสง
คำสำคัญ กระบวนการหมักในกระเพาะรูเมน;กากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอล
หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย การนำมันสำปะหลังไปใช้ในการผลิตเอทานอล จะได้เศษเหลือจากอุตสาหกรรม เป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกว่า กากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอล มีการศึกษาพบว่า กากมันสำปะหลังมีวัตถุแห้ง 25.08% โปรตีนหยาบ 7.27%, ไขมัน 1.07% เยื่อใย 35.72% เถ้า 12.94% และไนโตรเจนฟรีเอ็กแทรกซ์ 43.00% ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัตว์เคี้ยวเอื้องเนื่องจากมีเยื่อใยสูง การทดลอง นำกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลหมักด้วยยีสต์ร่วมกับกากน้ำตาลที่ระดับ 0, 3 และ 6% ต่อปริมาณการกินได้ พบว่า การใช้กากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลหมักด้วยยีสต์ร่วมกับกากน้ำตาลที่ระดับ 3% จะส่งผลดีต่อกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมนในโคเนื้อ
ข้อมูลเพิ่มเติม http://kjna.ubru.ac.th/j_files/document/J1527261031.pdf
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ผลของกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลหมักยีสต์ ร่วมกับกากน้ำตาลต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมนในโคเนื้อ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง