ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | มข. สร้างเสื้อเกราะรังไหมกันกระสุน ครั้งแรกของโลก |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | พนมกร ขวาของ |
เจ้าของผลงานร่วม | สุธา ลอยเดือนฉาย |
คำสำคัญ | เสื้อเกราะรังไหมกันกระสุน;ต่อยอดรังไหม |
หน่วยงาน | ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | มข.สร้างเสื้อเกราะรังไหมกันกระสุน ได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยผลิตเป็นครั้งแรกของโลก เพื่อช่วยด้านรักษาความปลอดภัย ขั้นตอนการสร้างนำรังไหมมาวางในแม่พิมพ์ เทเรซินชนิดพิเศษลงบนรังไหมเพื่อให้รังไหมยึดเกราะกัน อัดด้วยเครื่องไฮโดรลิค บ่มเป็นเวลา 8 ชั่วโมง เสื้อเกราะไหมกันกระสุนมีความหนาประมาณ 14-20 มิลลิเมตร และมีน้ำหนัก 2.5-4 กิโลกรัม รังไหมมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับเส้นใยเหล็ก จึงนำมาทำเป็นอุปกรณ์ป้องกันกระสุนปืน ยังมีคุณสมบัติเด่น คือความยืดหยุ่นตัวสูงสามารถดูดหัวกระสุนไว้ในเกราะไม่ทำให้เกิดการแฉลบสู่บุคคลข้างเคียง สามารถต้านทานแรงกระแทกได้ดี ไม่ทำให้เกราะแตก ที่ทำให้เกิดการบอบช้ำภายในของร่างกายผู้สวมใส่จากการยุบตัวของเกราะตามแรงของกระสุน ปัจจุบันทีมผู้วิจัย ได้จดสิทธิบัตรเสื้อเกราะไหมกันกระสุนเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.kku.ac.th/news/v.php?q=0010240&l=th |
สาขาการวิจัย |
|
มข. สร้างเสื้อเกราะรังไหมกันกระสุน ครั้งแรกของโลก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.