ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การพัฒนางานหัตถกรรมไม้ไผ่ในภาคอีสาน (Development of bamboo handicraft in Isaan) |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ศักดิ์ชาย สิกขา |
เจ้าของผลงานร่วม | ประทับใจ สิกขา , ธันยมัย เจียรกุล |
คำสำคัญ | การพัฒนา;งานหัตถกรรม;ไม้ไผ่;ภาคอีสาน |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการซื้อสินค้าหัตถกรรมไม้ไผ่มากกว่า 1 ครั้งต่อปี สมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ใช้สินค้าส่วนใหญ่คือ คุณแม่ ผู้ที่แนะนําให้ผู้ซื้อซื้อสินค้าหัตถกรรมไม้ไผ่มักจะเป็นคนในครอบครัว การตัดสินใจซื้อสินค้าหัตถกรรมไม้ไผ่ คือ ส่วนประสมทางการตลาด หรือ 4 P’s คือ Product Price Place และ Promotion ตามลําดับ ด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ คือ เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย ค่านิยมของสังคมไทย และผลิตภัณฑ์ช่วยสร้างการยอมรับในกลุ่ม ตามลำดับ ผู้ผลิตส่วนใหญ่นิยมพัฒนางานจากภูมิปัญญาดั้งเดิม เช่น การอบรมควัน ในปี พ.ศ. 2544-2551 สภาวะเศรษฐกิจมีผลกระทบต่องานหัตถกรรมไม้ไผ่อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ผลิตส่วนใหญ่ต้องการให้ส่วนราชการช่วยเหลือในด้านการสนับสนุนงบประมาณ สภาพแวดล้อมในการทํางานมีผลต่อการพัฒนางานไม้ไผ่ (ร้อยละ 66.67) ผู้ผลิตส่วนใหญ่เห็นว่าไม่เหมาะสมหากนำวัสดุทดแทนมาใช้แทนไม้ไผ่ (ร้อยละ 87.88) |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://tci-thaijo.org/index.php/ajnu/article/view/35966/29874 |
สาขาการวิจัย |
|