- ดร. วีราภรณ์ ผิวสอาด
- 546 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การออกแบบโครงสร้างรองรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตามดวงอาทิตย์ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | กฤชนนท์ สวนจันทร์ |
คำสำคัญ | โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม);ออกแบบโครงสร้าง;ติดตามดวงอาทิตย์ |
หน่วยงาน | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อนำไปใช้งานส่วนใหญ่ยังคงเป็นการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบมุมคงที่ (Fixed system) ซึ่งเป็นการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่กำหนดองศาของการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ตามองศาเส้นละติจูดของพื้นที่นั้น ๆ และหันแผงเซลล์แสงอาทิตย์เข้าหาเส้นศูนย์สูตรเพื่อรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะดวงอาทิตย์มีการเคลื่อนที่ตลอดทั้งวันจากทิศตะวันออกไปสู่ทิศตะวันตก ทำให้การติดตั้งแบบนี้ได้พลังงานสูงสุดในเวลาเที่ยงวันเท่านั้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้งานของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ยังมีศักยภาพไม่เต็มที่ ด้วยเหตุนี้นักวิจัยจึงมีการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตามดวงอาทิตย์ (Tracking system) โดยใช้เทคนิค วิธีการที่แตกต่างกัน ซึ่งคาดว่าจะสามารถรับแสงอาทิตย์ได้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1.3-1.5 เท่า |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5809031551_5632_5940.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
การออกแบบโครงสร้างรองรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตามดวงอาทิตย์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.