ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | เครื่องวิเคราะห์การเคลื่อนไหวขณะนอน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รุ่งโรจน์ พิทยศิริ |
เจ้าของผลงานร่วม | จิรดา ศรีเงิน |
คำสำคัญ | ผู้ป่วยพาร์กินสัน;เครื่องวิเคราะห์การเคลื่อนไหวขณะนอน |
หน่วยงาน | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) ที่เป็นอาการสำคัญในผู้ป่วยพาร์กินสัน สามารถเกิดได้ทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน ขณะนอนร่วมด้วย โดยเฉพาะอาการในช่วงเวลากลางคืนจะทำให้ผู้ป่วยพลิกตัวลำบาก เคลื่อนไหวขณะนอนน้อยกว่าปกติ นักวิจัยได้พัฒนาคิดค้น เครื่องตรวจวัดการเคลื่อนที่แบบเชิงเส้นและเชิงมุม ประกอบด้วย ชุดรับสัญญาณและแปลงสัญญาณเพื่อส่งข้อมูลบันทึกแผ่น SD Card ภายในตัวเครื่องและนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อไป เครื่องมือวัดการเคลื่อนไหวขณะนอนทำการตรวจวัดโดยติดชุดรับสัญญาณบริเวณทำการติดตั้งเครื่องมือวัดการเคลื่อนไหว 5 จุด คือ ข้อมือ 2 ข้าง ข้อเท้า 2 ข้าง และบริเวณกลางลำตัว เพื่อประเมินปัญหาการเคลื่อนไหวลำบากขณะนอน |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.chula.ac.th/impact/3856/ |
สาขาการวิจัย |
|
เครื่องวิเคราะห์การเคลื่อนไหวขณะนอน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.