ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การพัฒนาชุมชนต้นแบบการผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมระหว่าง ขยะอินทรีย์ ฟางข้าว และมูลสัตว์ ในสภาวะที่มีตัวกลางยึดเกาะ ในอำเภอสันทราย และ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ณัฐต์ณิชา สุขเกษม |
คำสำคัญ | การพัฒนาชุมชนต้นแบบ;การผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมัก;พลังงานทดแทน |
หน่วยงาน | วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ประเทศไทยมีการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทดแทนจากพืชแทนการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล พืชที่มีความพร้อมในการเป็นแหล่งวัตถุดิบในกลุ่มแป้งและน้ำตาลจะถูกนำมาใช้ในการผลิตพลังงานทดแทน เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ซึ่งพืชเหล่านี้เป็นพืชอาหารหากมีการนำมาใช้ในการผลิตพลังงานทดแทนจำนวนมาก จะมีผลต่อความมั่นคงด้านอาหารของประเทศได้ จึงได้มีการพัฒนาในการคัดเลือกพืชลิกโนเซลลูโลสชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช้พืชอาหารมาเป็นพืชพลังงาน หรือนำวัสดุเหลือทิ้งจากภาคเกษตรที่เป็นพืชอาหาร และพืชอื่น ๆ มาใช้เป็นพืชพลังงานทดแทนได้อีกด้วย เป็นการลดปัญหาผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารจากการนำพืชพลังงานอาหารมาใช้ในการเป็นพืชพลังงาน |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://www.clinictech.most.go.th/online/usermanage/FinalReport/20174271453251.pdf |
สาขาการวิจัย | - |
การพัฒนาชุมชนต้นแบบการผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมระหว่าง ขยะอินทรีย์ ฟางข้าว และมูลสัตว์ ในสภาวะที่มีตัวกลางยึดเกาะ ในอำเภอสันทราย และ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.